พฤษภาคม 21, 2024, 10:14:07 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: AVC เปิดเฟสและโซเชี่ยลใหม่ เพื่อนๆช่วยกดไลค์ติดตามด้วย
เวบเข้าสู่ปีที่ 15 แล้ว ท่านสามารถช่วยเหลือเวบได้โดยสมัคร VIP (ตลอดชีพ) อ่านคอมเมนท์จากผู้ใช้งานจริง ที่นี่
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: พี่น้องว่า "แบล็คฮ๊อว์ก" ตกเพราะอะไร??  (อ่าน 7505 ครั้ง)
ze7ez
ผู้บัญชาการเอวีสูงสุด
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2239



« เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 05:12:37 PM »

อีกแล้วครับท่าน

ขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียด้วยครับ R.I.P.  Undecided

แต่ในแง่ของกองทัพบก กระทรวงกลาโหม รัฐประเคนงบให้ไปไม่รู้เท่าไหร่
ชี้นิ้วเอาอยากได้โน้นได้นี่ แล้วผลงานที่ออกมาล่ะ มืออาชีพรึป่าว
ไม่ต้องแก้ตัวหรอกว่าในสายตาชาวโลกเขาจะมองยังไง

นี่ถือเป็นการผิดซ้ำสอง ผิดครั้งแรกถือว่าให้อภัยได้
ครั้งแรกจะไปช่วยคนก็ตก ครั้งนี้จะไปเก็บศพก็ตก
สุดท้ายเลือกเดินเอา แหยงขึ้นมาเลย

จะโทษลมโทษฟ้า หรือการวางแผน หรือสภาพเครื่อง หรือนักบินไม่เก่ง จะอะไรก็แล้วแต่

 ไม่รู้ล่ะอาจจะเป็นเรื่องของโชคชะตาความซวยแล้วแต่จะหาเหตุผลอะไรปลอมใจตัวเอง

แต่ในฐานะประชาชนผู้เสียภาษีให้ ประสิทธิการทำงานทำได้แค่นี้หรือมันคุ้มกับเงินที่คุณขอไปหรือ
งานการคุณทำอะไรกันบ้าง นายพลก็จะเดินชนกันตาย ตำแหน่งให้ก็จะไม่มี ต้องหาให้ไปเป็นายกสมาคมกีฬาโน้นนี่นั่น หรือบอร์ด ประธานอะไรทั้งหลายแหล่

แค่นี้ยังตก จะไปรบกับเขมรได้ป่าว เหอๆ ไม่ได้ขำเยาะเย้ยนะครับ ขำสมเพชตัวเองมากกว่า
ใต้ก็พอกันไม่เห็นจะมีอะไรดีขึ้น ไปล่อเป้าเขาไปวันๆ งบก็เทลงๆ

ดีครับมีกองกำลังทหารปกป้องประเทศ แต่ประสิทธิภาพแค่ไหน เห็นซ้อมรบกับฝรั่งทุกปีผลาญงบไปเท่าไหร่  แค่ภารกิจหน่อมแน้มไปเก็บของรับคนยังได้แค่นี้ ถ้ารบกับใครสักประเทศก็ตัวใครตัวมันล่ะครับ
ขุดรูอยู่ได้เลย  ทำอะไรให้ประชาชนอุ่นใจหน่อยสิ ท่านผบ.ทบ. แบบนี้ภาพมันฟ้อง ถึงจะแดกแต่ผลงานก็ให้มีประสิทธิภาพหน่อยสิครับ

หรือเก่งแต่กับฆ่าประชาชนคนชาติเดียวกัน! Tongue

ปล.ถ้าฟ้าฝนฟ้าไม่ดี ช่วงนี้ก็หน้าฝน ก็ยังจะดึงดันเอาฮ.ขึ้น รอจนฟ้าเปิดปุ๊บรีบขึ้น แป๊บๆเดี๋ยวมันก็ปิด
ถ้าคิดเดินเท้าไปก็ไม่มีใครสูญเสียแต่อาจจะช้าหน่อย   เอวัง...ทหารไทย!!

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2011, 05:17:26 PM โดย ze7ez ♥ ㋡ 大橋未久™ » บันทึกการเข้า

heen
AV Devotor (VIP)
กรรมมาธิการเอวี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 372


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 07:53:47 PM »

กองทัพมีนายทหารเยอะเกินไปเหรอเปล่าบ้านเรา

เห็นบางค่ายหวดกอล์ฟทั้งวัน

เห็ใจทหารชั้นผุ้น้อยที่ลงพื้นที่จริง ๆ ครับ
บันทึกการเข้า
sompoat
AV Professor
ผู้บัญชาการเอวีสูงสุด
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1473



« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 08:21:04 PM »

คุยกับน้องที่ราบ 9 เห็นว่าดันทุรังกันไปเอง ทั้งที่อากาศปิด และไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้งอออกจากพื้นที่
เค้าก็ยังงงงงว่าทำไมไม่รอฟ้าเปิดก่อน ....

เสียดายทั้งกำลังพลและอุปกรณ์ครับ เหมือนที่เคยคุยกับทหารไอ้กัน มันบอกว่าจะยังไงเอาชีวิตคนไว้ก่อน ชิปหายเท่าไหร่ไม่ว่า
ต่างจากแนวคิดเราเลยครับ....
บันทึกการเข้า

~..DownSinDome..~
โอตาคุเอวี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 156


ลูกผู้ชายฆ่าได้ หยามไม่ได้เว้ย...!!!


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2011, 09:55:17 PM »

เสียใจด้วยครับ..
บันทึกการเข้า

Love you Asami Ogawa
Bakuno
กรรมมาธิการเอวี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 383


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2011, 12:52:50 AM »

ตกเพราะ ทหารชั้นผู้ใหญ่ อมค่าบำรุง ค่าน้ำมันซ้อมบิน ค่าจัดซื้อเครื่องใหม่ มากกว่าครับ

R.I.P
บันทึกการเข้า
sompoat
AV Professor
ผู้บัญชาการเอวีสูงสุด
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1473



« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2011, 07:10:46 AM »

ไปไปมามาตก 2 ลำแล้วนะครับ ลำที่ 2 เพราะตามไปช่วยลำแรก เพิ่งตกด้วย
บันทึกการเข้า

JUSTDROPDEAD
AV Columnist
คณะปฏิสนธิแห่งชาติ
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 534



« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2011, 12:42:39 PM »

ต้องให้คนกลุ่มนี้เข้าไปแทน
http://www.youtube.com/watch?v=0rrIkT-OTrY
บันทึกการเข้า
sompoat
AV Professor
ผู้บัญชาการเอวีสูงสุด
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1473



« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2011, 06:01:52 AM »

จากที่นี่ครับ คนนี้ของจริงด้วย



บทความนี้ เป็นการนำบทความเก่ามาปัดฝุ่น เนื่องจากเหตุการณ์ อากาศยาน ฮท.๑ และ ฮท. ๖๐ ตกของกองทัพบกเมื่อ ๑๙ ก.ค. ๕๔ ที่ผ่านมา ซึ่งดูเหมือนจะจริงจัง แต่สุดท้ายเป็นไฟไฟมฟางอีกตามเคยกับระบบบการค้นหาช่วยชีวิตของไทยซึ่ง ดูเหมือนฝึกบ่อย แต่จริงเป็นเพียงการแสดงจัดฉากแสดงอากาศยานเท่านั้น เมื่อไรจะจริงจังกับระบบนี้ซะที
กล่าวนำ

จากเหตุการณ์ เครื่องบินเล็กของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งตกในพื้นที่เขาใหญ่ การค้นหาช่วยเหลืออากาศยานของ ประเทศไทย ยังไม่สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ นอกจากนนี้ยังไม่รวมเหตุการณ์ ที่สายการบินวัน ทูโก ประสบอุบัติเหตุ ที่สนามบินภูเก็ต ซึ่งภาพที่ปรากฏไม่เหมือนกับประสิทธิภาพ ภาพการสาธิต , ข้อความที่ประชาสัมพันธ์จากการฝึกซ้อมการค้นหาช่วยเหลือ SAREX Search and Rescue Exercise ที่มีการฝึกเป็นประจำทุกปี ในทุกปี การฝึกการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย เป็นการฝึกภายใต้ความรับผิดชอบ ของกรมขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม เพื่อปรับมาตรฐานการค้นหาและช่วยเหลือฯ เพื่อสนับสนุนยุทธ์ศาสตร์การ เป็นศูนย์กลางการบินนานาชาติของประเทศไทย โดยจะมีการหมุนเวียน การรับเป็นแกนกลางในการจัดงานระหว่าง , กองทัพบก, กองทัพอากาศ,กองทัพเรือ , กรมการขนส่งทางน้ำ ( กรมเจ้าท่าเดิม ) , กรมการขนส่งทางอากาศ( กรมการบินพานิชยเดิม ) , ซึ่งมักจะเน้นการสาธิต เพื่อให้ภาพเกิดความสวยงาม มากกว่าการฝึกหน่วย

แต่สภาพความเป็นจริง งานค้นหาช่วยเหลือ หรือที่เรียกว่า SAR นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของการบินค้นหาเท่านั้น การหาไม่เหมือนที่ทำการสาธิตวันเด็กหรืองานSAREXเท่านั้น แต่ ต้องเป็นการบูรณาการ ขีดความสามารถในการค้นหาทั้งมวล ของทุกส่วนงาน ตั้งแต่ ระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ จนถึง หน่วยกู้ภัย ที่อยู่บนพื้นดินที่อยู่ในบริเวณที่คาดว่าอากาศยานจะตก เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ในทุกพื้นที่และสภาพอากาศ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเครื่องตกขณะที่ สภาพอากาศไม่ดีนัก ไม่สามารถใช้อากาศยานในการค้นหาได้ ทางเดียวที่จะเข้าไปค้นหาได้คือ การใช้ชุดค้นหาที่เดินเท้า ซึ่งหลายปีของการฝึกที่ผ่านมา ไม่เคยมีการฝึกอย่างจริงจังในภาพรวมในเรื่องการค้นหาช่วยเหลือ , ระบบบัญชาการเหตุการณ์ที่ควรจะสมบูรณ์พร้อมในการที่จะให้ข้อมูลประสานงาน , แจ้งเตือนหน่วย , นำข้อตกลงที่ได้ประชุมสัมนามาเชิงปฏิบัติการมาใช้ในทางปฏิบัติจริง และผลที่ออกมากลับไม่เป็นเหมือนที่ฝึกสาธิตกันทุกปี หลายปีที่ผ่านมา การฝึก SAREX เป็นการฝึกซ้อมเชิงสาธิต มีการจัดลำดับการเข้าออกของแต่ละส่วน คล้ายกับ การสร้างฉากภาพยนต์ ทำให้ และมุ่งเน้นการค้นหาในภาคอากาศ เท่านั้น โดยไม่ได้มีการฝึก ในขั้นตอนของการค้นหาภาคพื้นดิน หรือ การจัดตั้ง ที่บัญชาการ ณ พื้นที่เกิดเหตุ ซึ่งในการฝึก ภาพที่สวยหรู มักจะสมมติเหตุการณ์ว่าเกิดขึ้นใกล้สนามบิน และ ท้ายที่สุดได้ภาพที่ดูอลังการณ์ แต่ไร้ซึ่ง ผลผลิตที่ควรจะได้จากการฝึก ซึ่งการค้นหาช่วยเหลือยังคงต้องใช้กำลังทุกส่วนมิใช่เพียงแต่ การค้นหาทางอากาศอย่างที่คนในบุคคลกร วงการการบินโดยทั่วไปเข้าใจ



จากหลายเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ ที่ เฮลิคอปเตอร์ ผู้บัญชาการกองกำลังผาเมือง ตก ในพื้นที่ป่าภูเขาในภาคเหนือ , เหตุการณ์ที่ ขบวนฮ.ติดตาม ขบวน ฮ.พระที่นั่ง ตก ในพื้นที่ อ.สุคิรินทร์ จว.นราธิวาส จุดอ่อนของการค้นหาช่วยเหลือ หลายจุดยังคงไม่ได้รับการปรับปรุง

บท ความที่กล่าวถึงในด้านล่างนี้เป็น แนวทางขั้นตอนการปฏิบัติ การทั่วไปของการค้นหาช่วยชีวิต โดยจะไม่กล่าวถึงในรายละเอียดการบินค้นหาทางอากาศ ซึ่งเนื่องจากมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนอยู่แล้ว โดยหน่วยงานที่เป็น ศูนย์ประสานการค้นหาควรเข้าใจหลักการค้นหาช่วยเหลือ ไม่เพียงแต่ภาคอากาศเท่านั้น แต่เพื่อให้เห็นภาพรวมให้เกิดความเข้าใจในการเตรียมการในยามปกติ ซึ่งต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประสาน ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในการปฏิบัติการค้นหาช่วยเหลือ , การนำเอาหน่วยงานหลายหน่วยมาทำงานร่วมกันในสภาวะวิกฤติ , การขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการค้นหาช่วยเหลือที่เต็มรูปแบบ มิใช่จากการดู บรรยายสรุป ๑- ๒ หน้า หรือ การอ่านแต่ตำราโดยขาดความสนใจในการปฏิบัติ และการพัฒนา ขีดความสามารถในภาพรวม , ฯลฯ ผู้เขียน หวังว่าบทความนี้คงจะช่วยเพิ่มความเข้าใจในเรื่องของการค้นหาช่วยเหลือใน ภาพรวมและนำไปปรับปรุงหน่วยงานองค์กร หรือ บุคคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง

Search and Rescue (การค้นหาช่วยเหลือ, การค้นหากู้ภัย ) หมายถึง การช่วยผู้ที่ประสบภัยให้รอดชีวิตจากภัยพิบัติ,อุบัติภัยในระหว่างเกิดภัย หรือหลังภัยเกิดขึ้นแล้วงานการค้นหาช่วยเหลือเป็นงานที่ต้องการ ความตั้งใจ ทักษะการทำงาน และทรัพยากร มากในการทำงาน ขั้นตอนที่ จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นขั้นตอนสากลของการค้นหาช่วยเหลือ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับการช่วยเหลือ,กู้ภัยได้ทุกรูปแบบ

 
ขั้นตอน การช่วยเหลือหรือการกู้ภัย


1.การรับแจ้งและการรายงาน (Report)
ขั้นตอนนี้ หน่วยจะได้รับแจ้งเหตุจาก ผู้ประสบภัยหรือจากหน่วยงานอื่นเพื่อให้หน่วยช่วยชีวิต( กู้ภัย ) เข้าช่วยชีวิตในพื้นที่ที่กำหนด โดย ในส่วน ผู้รับแจ้ง ต้องรับทราบข้อมูลที่จำเป็นในการช่วยชีวิตขั้นต้น และ กระจายข่าวส่งข้อมูลที่จำเป็นให้หน่วยช่วยเหลือที่ ใกล้ที่สุดในพื้นที่เกิดเหตุทราบและเริ่มดำเนินการ

2.การวางแผนขั้นต้น (Planning)
ขั้น ตอนนี้เป็นการกำหนดวิธีการปฏิบัติขั้นต้นตั้งแต่การ เข้าพื้นที่ การค้นหา การเข้าถึง การปฐมพยาบาลและการส่งผู้ประสบภัยไปยังพื้นที่รองรับ โดยทั่วไปหน่วยจะมี แผนล่วงหน้า ในแต่ละสถานการณ์ และจะการเป็นการปรับแผนที่เคยวางไว้ ( ถ้ามี ) ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งหากปฏิบัติบ่อยๆจะกลายเป็นซึ่งที่ทหารเรียกว่า รปจ. หรือ ระเบียบปฏิบัติประจำ จากการที่ปฏิบัติซ้ำจนไม่รู้สึกว่ามีการวางแผนเพราะมีการปฏิบัติจนสามารถจด จำขั้นตอน ทราบปัญหาที่จะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า แล้ว และขั้นนี้นี่เองที่ หน่วยกู้ภัยบนท้องถนน จนทำให้เมื่อต้องไปทำการกู้ภัยนอกเหนือจาก สถานการณ์ที่เคยพบจะละเลยขั้นตอนนี้และเกิดปัญหาตามมาอย่างมาก ตัวอย่าง การวางแผนการค้นหา แบบเร่งด่วนที่พบกันบ่อย คือ การค้นหาคนที่ติดในอาคารขณะเพลิงไหม้ ข้อจำกัดของข้อมูลแผนผัง อาคารในประเทศไทย เช่น การดัดแปลงอาคาร , แผนผังอยู่ในอาคารที่มีเพลิงไหม้, หน่วยดับเพลิงประจำท้องที่ไม่เคยเก็บข้อมูลแผนผังอาคารในพื้นที่รับผิดชอบตน เองไว้ การวางแผนในบ้านเราเป็นการวางแผนด้วยข้อมูลที่จำกัด ใช้การแก้ปัญหาเฉพาะเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นการวางแผนในใจ เช่นการกำหนดจะขึ้นทางไหน ,เข้าทางไหน ค้นที่ใดก่อน จากไหนไปไหน และ การติดต่อประสาน ใครจะรับรายงานข้อมูล , ใครจะเป็นคนรับช่วงต่อเมื่อพบผู้ประสบภัย ,ใครจะไปช่วยเมื่อเกิดอุบัติภัยกับผู้ช่วยเหลือ , และช่องทางออกเมื่อเกิดเหตุระเบิดหรือเพลิงควบคุมไม่ได้ ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลขั้นต้นที่ต้องเตรียมไว้ ซึ่ง อาจจะต่างจากการค้นหาในสถานการณ์เครื่องบินตกหรือ ผู้ประสบภัยโดยเฉพาะเรื่องปัจจัยเวลา

3. การค้นหาและการเข้าสู่พื้นที่ (locate)
ขั้น การค้นหา เป็นการ เดินทางเข้าหา ตามแผน ที่ได้วางไว้ในขั้นที่ ๒ โดยสามารถค้นหาได้หลายวิธี ตั้งแต่การใช้ระบบอิเล็กโทรนิคส์ เครื่องมือเทคโนโลยีสูง จนถึงการหาด้วยสายตา ทั้งนี้หากไม่มีการวางแผนที่ดี จะทำให้การค้นหาเกิดความซ้ำซ้อน ไม่มีประสิทธิภาพ
การเข้าสู่พื้นที่ สามารถกระทำได้หลายทาง ทั้งทางบก ,ทางน้ำ ,ทางอากาศ หรือ การใช้การผสมผสานของเครื่องมือ เช่น การใช้ เฮลิคอปเตอร์ ส่งคนลงเดินค้นหา ,หรือ การใช้ ฮ.ขนเรือยางเพื่อ ส่งลงในอ่างเก็บน้ำเพื่อในการค้นหา ทั้งนี้ ในการค้นหาทางบกสิ่งที่มักจะละเลยคือการใช้แผนที่ มาตราส่วนที่ใหญ่พอที่จะเห็นรายละเอียดในการเดินเท้า ซึ่ง ทางทหารจะใช้มาตรส่วน ๑ ต่อ ๕๐,๐๐๐ ซึ่งควรประกอบกับการใช้เข็มทิศ และเครื่องหาพิกัดด้วยดาวเทียม

4. การเข้าถึง (Access)
เป็น การใช้ ทรัพยากร , เครื่องมือ , ทักษะความชำนาญ เพื่อที่จะเข้าถึงผู้ประสบภัยอย่างปลอดภัยทั้งนี้รวมทั้ง การนำชุดช่วยเหลือกู้ภัยออกจากพื้นที่อย่างปลอดภัยดัวย ได้แก่ การเจาะเข้าที่เกิดเหตุ และ การช่วยเหลือ ซึ่ง ภาพที่เห็นบ่อย คือ การใช้เครื่องตัดถ่าง ตัด,ถ่าง,งัดแงะซากรถ,ซากอาคาร นำผู้บาดเจ็บออกมา( ปัจจุบัน ในกองทัพยังไม่มีประจำการโดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ นำพาได้ โดยบุคคล ) หรือ การลงจากหน้าผาเพื่อ ลงไปช่วยผู้ประสบภัยที่ติดในรถหรือ อากาศยานที่ตกลงในพื้นที่ป่าภูเขา ซึ่งระบบการเข้าถึง นี้ ในประเทศไทย จะเน้นเรื่องอุบัติภัยจากรถ เป็นส่วนมาก ทำให้ขาดการพัฒนาในเรื่อง การใช้เครื่องมือลงและขึ้นจากที่สูง ,การช่วยเหลือทางน้ำ ที่ไม่ ใช่อุปกรณ์น้ำวงจรเปิด SCUBA

5. การช่วยเหลือปฐมพยาบาลเตรียมการเคลื่อนย้าย (Stabilize)
เป็น การให้การดูแลด้านการแพทย์ ณ พื้นที่เกิดเหตุ เพื่อที่จะ นำผู้ประสบภัย ออก โดยไม่มีการบาดเจ็บเพิ่มเติม และ ไม่มีอาการที่รุนแรงขึ้น จากที่เป็นอยู่ ในส่วนงานด้านนี้ นั้น ในพื้นที่ ประสบภัยที่สามารถเข้าถึงสะดวกด้วยรถยนต์ ก็ ไม่เป็นปัญหานัก แต่ถ้าเป็นพื้นที่ ที่ถูกตัดขาดนั้น การปฏิบัติดังกล่าว ยังไม่มีประสิทธิภาพพอ เนื่องจาก งานด้านการพยาบาลสนาม Pre-hospital Trauma Life Support ( การรักษาพยาบาล ที่ อาจจะมากกว่าการปฐมพยาบาล ทั่วไป โดยที่ไม่ใช้นายแพทย์ เนื่องจาก ความห่างไกลของระยะทาง เวลาที่ใช้ในการเดินทาง ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ต้องใช้ทักษะที่สูงขึ้นในการกู้ชีพ เช่น, การให้น้ำเกลือ , การลดความกดดันในช่องอก Decompression and Drainage of chest , การทำช่องหายใจฉุกเฉิน Emergency Airway Procedures ) ซึ่ง นายแพทย์บางท่านว่า” มันอันตราย หากทำไม่ถูกต้องและควรให้นายแพทย์ทำดีกว่า” ซึ่งในสถานการณ์ภัยพิบัติส่วนมากหมอไม่สามารถไปถึงสถานที่เหล่านั้นในเวลา ที่ต้องการได้ แต่ปัจจุบัน เมื่อ เดือน มิ.ย. ๕๔ ที่ผ่านมา กรมแพทย์ทหารบกได้มีการสัมมนาทบทวน การปรับปรุงขีดความสามารถนายสิบพยาบาล ของ กองทัพบก ให้มีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น พี่น้องหมอทหาร ที่อ่านบทความนี้กลับไปทบทวนตำรับตำราว่าด้วยการแพทย์ทางุทธวิธีสมัยใหม่ หน่อยครับเพราะหลายท่านอยู่ใน รพ.จนไม่รู้ว่า การแพทย์สนามไปถึงไหนถึงไหนกันแล้ว

6.การนำส่งพื้นที่รองรับ หรือพื้นที่ รักษาพยาบาล (Transportation)
เป็น การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจากพื้นที่ที่อันตราย ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย เพื่อการรักษาขั้นสูงต่อไป เช่น การนำออกจากพื้นที่ป่าภูเขามายัง สนาม ฮ.ที่ใกล้ที่สุดเพื่อส่งต่อไปยัง รพ.มีขีดความสามารถเพียงพอในการรักษา เช่น การเคลื่อนย้าย ไปยังพื้นที่ รองรับ (สถานพยาบาล), การนำมายังจุดประสานงานบนถนนใหญ่ที่รถเข้าถึงก่อนนำส่ง รพ.

ลำดับขั้นการปฏิบัติการ


๑.การรายงาน/ การวางแผน /จัดตั้งระบบการสั่งการ การควบคุม การประสานงาน
( Report/Planning/command control coordination)
ขั้น ตอนนี้ศูนย์ประสานงานการค้นหาฯหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องรวบรวมข้อมูล ที่มีอยู่เตรียมการ วางแผนขั้นต้น และแจ้งเตือนหน่วยที่อยู่ในระบบการค้นหาฯซึ่ง ไม่เพียงแต่การแจ้งหน่วยในระดับเดียว กัน การแจ้งหน่วย ในพื้นที่ที่เป็น หน่วยย่อย ต้องกระทำทันทีเพื่อให้ทุกส่วนตื่นตัวและเตรียมการ และกระจายข่าวสารให้ประชาชนในพื้นที่นั้นรับทราบ เพื่อเป็นประโยชน์ในการแจ้งเบาะแสอย่างเร่งด่วน

ก. ข้อมูลที่ต้องเตรียม

๑.เป้าหมาย ( ข้อมูลบุคคล ที่ต้องช่วยเหลือ )
• สถานที่ พิกัดล่าสุด ที่ใด เวลาเท่าใด ความสูงเท่าใด(อากาศยาน )
• พิกัดที่คาดว่าอากาศยานจะตก ( ควรกำหนดด้วยระบบพิกัดUTM และ MGRS ) รวมทั้งอธิบายวิธีการคิด ว่าใช้สมมติฐาน หรือข้อมูลอะไรในการกำหนดจุดเช่น ( เครื่องบินมี เครื่องส่งสัญญาณฉุกเฉิน หรือ ใช้การคำนวนจากความสูงและความเร็วอากาศยาน ความเร็วลม ,ทิศทางล่าสุด ฯลฯ )
• ติดต่อกับฝ่ายเราครั้งสุดท้ายเมื่อใดด้วยอะไรถ้าเป็นวิทยุใช้ความถี่อะไร,โทรฯหมายเลขอะไร
• ชื่อ รูปร่าง ลักษณะทางกายภาพ ความสูง กลุ่มเลือด เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ภาพเอ๊กเรย์ฟัน
• สภาพร่างกายล่าสุด เช่นเดินได้หรือไม่ /บาดเจ็บหรือไม่/บาดเจ็บบริเวณใด/อาการล่าสุด
• อุปกรณ์ ประจำกาย อุปกรณ์ยังชีพที่ติดกับอากาศยานมีหรือไม่/ถ้ามีคาดว่าอยู่ได้นานเท่าใด

๒.ข้อมูลพื้นที่ที่อากาศยานตก
• ลักษณะพื้นที่ แผนที่ ๑ต่อ ๕๐๐๐๐ หรือ แผนที่ที่ใช้เดินทางพื้นดิน ข้อมูล พื้นที่เหวที่สูงชัน , ทางน้ำ แหล่งน้ำ , ลักษณะพืชพรรณไม้ ,เส้นทางในพื้นที่ ,พื้นที่สิ่งปลูกสร้าง หมู่บ้าน
• แผนที่ทางอากาศ(ควรมีอุปกรณ์มารค์แผนเช่น ปากกาเคมี สีที่เพื่อเตรียมการชี้แจง )
• สภาพอากาศ พยากรณ์อากาศในพื้นที่ค้นหา
• อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่เช่น สัตว์ป่า , ภัยพิบัติ น้ำป่า,ดินถล่ม, ไฟป่า กับระเบิดทุนระเบิด, กับดักสัตว์

ข.เครื่องมือ
o เครื่องมือการวางแผน
- แผนที่ , แผ่นอาซิเตทคลุมแผนที่ , อุปกรณ์เครื่องเขียน มารค์ แผ่นอาซิเตทคลุมแผนที่
- เครื่องให้แสงสว่าง, เครื่องปั่นไฟ , เครื่องฉายภาพ, คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
o เครื่องมือสื่อสาร
o สมุดรายการติดต่อประสานงาน หน่วยในพื้นที่
o ที่พักเคลื่อนที่,เครื่องนอนส่วนบุคคล,อาหารสำเร็จรูปที่พออยู่ได้

ปัจจุบัน เทคโนโลยีบางอย่างสามารถช่วยลดความยุ่งยากในการเตรียมอุปกรณ์ เช่น ระบบแผนที่ดิจิตอล เครื่องพิมพ์ โปรเจคเตอร์ ทำให้การตั้ง ศูนย์ประสานงานหรือ บก.เหตุการณ์ มีความรวดเร็วมากขึ้น แต่พึงระลึกเสมอว่าอะไรที่ใช้ไฟฟ้า ความไม่แน่นนอนเกิดขึ้นเสมอ แผนที่กระดาษธรรมดา กับแผนอาซิเตท และปากกาเขียน เป็นความจำเป็นพื้นฐานในวางแผนการค้นหา ความสวยงานอลังการของ ที่บัญชาการเหตุการณ์ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ แต่หากเป็น สถานที่ที่สามารถให้ข้อมูลเพียงพอ ,สามารถแก้ปัญหาประสานงานระดมทรัพยากรทั้งมวลของชาติโดยไม่ติดขัด คือ ความมุ่งหมายของสูงสุด ของที่บัญชาการเหตุการณ์ ซึ่งแน่นอนว่า ไม่มีการทำงานครั้งใดที่ไม่พบอุปสรรค นั่นคือความท้าทายของทีมงานที่จะต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ปัญหาบุคคลกรของแต่ละองค์กรในเรื่องวิธีการทำงาน, ความไม่เข้าใจของผู้มิอำนาจในการตัดสินใจ,งบประมาณที่ต้องนำมาใช้, ทรัพยากรไม่เพียงพอ , ปัญหาสภาพแวดล้อมไม่เป็นใจ , ข่าวสารที่เผยแพร่ออกไปทางสื่อมวลชนถูกบิดเบือน ฯลฯ

ปัจจัยความอยู่ รอดของ ผู้ประสบภัยจะขึ้นอยู่กับ ความรวดเร็วรอบคอบของ ผู้ที่จะมาตั้ง ศูนย์ประสานงานการค้นหาส่วนหน้า ( ที่บัญชาการเหตุการณ์ ) ว่าจะสามารถเตรียมข้อมูลส่งให้ ส่วนปฏิบัติการค้าหาช่วยเหลือ ได้สมบูรณ์เท่าใด , การวางแผนการค้นหา ,การสนับสนุนการค้นหา รวมทั้งการประชาสัมพันธ์การค้นหาประสานงานหาข้อมูล ส่งผ่านข้อมูลที่จำเป็นให้หน่วยในพื้นที่ หรือ หน่วยที่จะค้นหาที่อาจจะทยอยเข้ามา ช่วยการค้นหา ในกรณึศูนย์ประสานงานการค้นหาหากไม่มีเครื่องมือในข้อ ข. ควรประสาน ขอรับการสนับสนุนเครื่องมือหน่วยในพื้นที่ตั้งแต่ เริ่มทราบว่าจะต้องมีการค้นหา ไม่ใช่เมื่อถึง ที่ตั้งบก.เหตุการณ์แล้ว เพิ่งไปขอ พึงระลึกไว้ว่าทุกวินาทีที่ผ่านไป โอกาสรอดของคนที่รอความช่วยเหลือจะลดลงทุกวินาที ( รายละเอียดการวางแผนและการตรวจดูใน ผนวก รายการการตรวจสอบ การค้นหาช่วยเหลือภาคพื้นดิน )

๒.การค้นหา (Locate) ในการค้นหา สามารถค้นหาได้ทั้งทางอากาศและทางพื้นดิน ในที่นี้จะมุ่งเน้นเรื่องการค้นหาทางพื้นดิน

๑.การค้นหาด้วยระบบอิเล็กโทรนิคส์
ได้แก่ การใช้ข้อมูลจาก เรดาห์ หอความคุมจราจรทางอากาศ , เครื่องหาทิศทาง , อุปกรณ์ส่งสัญญาณนำทิศ , ซึ่งทั้งนี้ อุปกรณ์เทคโนโลยีสูงไม่ได้รับความนิยมในประเทศไทยเนื่องจาก มีราคาแพง และ ขาดความตระหนักในเรื่องความปลอดภัย น้อยในทุกระดับ ค่าชีวิตของทหารไทยราคาถูก เป็นปกติ

๒.การกำหนดพื้นที่ค้นหา โดยปกติจะเป็นการค้นหาร่วมระหว่างการค้นหาทางพื้นดินกับการค้นหาทางอากาศ โดยมีวิธีการใกล้เคียงกับการค้นหาทางน้ำ
๒.๑.การค้นหาด้วยระบบพิกัด
จะ ใช้เมื่อมีข้อมูลที่ชัดเจน และเป็นการค้นหาที่นิยมที่สุด และ เป็นการสั่งการวางแผนที่ง่ายที่สุด มักจะใช้เป็น การวางแผนขั้นต้น เพื่อให้หน่วยภาคพื้นดินไปวางแผนประกอบภูมิประเทศจริง แต่จะลำบากกับผู้ค้นหามากที่สุดหากกำหนดพิกัดเพียงอย่างเดียวให้กับผู้ค้นหา ทางพื้นดินโดยเฉพาะหากพิกัดคลาดเคลื่อน หน่วยกู้ภัยในประเทศ ไทยมักจะจะไม่มี แผนที่เข็มทิศ ในการเดินทาง ซึ่ง ถึงแม้รู้พิกัด และมีเครื่องหาพิกัดด้วยดาวเทียมที่ไม่มีแผนที่แสดงเส้นชั้นความสูง แต่ในพื้นที่ป่าภูเขาก็ไม่สามารถเดินทางตามมุม หรือเดินทางเป็นเส้นตรงได้ต้องใช้แผนที่ประกอบ บางท่านอาจจะบอกว่า พรานป่าหรือชาวบ้านชำนาญทาง แต่จะมีพรานป่าหรือชาวบ้านซักกี่คนที่เข้าใจระบบพิกัดบนแผนที่
๒.๒ การกำหนดจากเส้นทาง (Track line Method ) มักจะใช้กับเรือ หรือ อากาศยาน ที่รู้จุดต้นทาง และ จุดปลายทางหรือ จุดล่าสุดที่ทราบพิกัด โดยจะกำหนดเป็น จุด ๒ จุด ตามแนวเส้นทาง และกำหนดความกว้าง จากเส้นที่ต่อจุดสองจุดนั้นวิธีการนี้เช่นเดียวกับวิธีการกำหนดพิกัด จะเป็นเพียงการกำหนดกรอบการค้นหาขั้นต้น เหมาะกับการค้นหาด้วยอากาศยาน แต่ก็สามารถนำเป็นเป็นข้อมูลขั้นต้นในการวางแผนค้นหาทางพื้นดิน ประกอบข้อมูลภูมิประเทศ
๒.๔ การใช้จุดศูนย์กลาง (Center Point Method) จะใช้กับพื้นที่ที่สามารถการกำหนดจุดศูนย์กลางได้ เป็นพิกัด และ ส่วนบัญชาการ หรือส่วนประสานการค้นหาจะกำหนด รัศมีการค้นออกจากศูนย์กลาง
ภาคพื้น ดิน ซึ่งควรจะใช้วิธีการกำหนดขอบเขตในการค้นหาด้วย การใช้ลักษณะที่สังเกตุได้ในภูมิประเทศ ซึ่งจะต่างจากการค้นหาที่ใช้อากาศยาน ที่กำหนดด้วย ระบบกริด หรือ พิกัด
๒.๒.การค้นหาด้วยระบบการกำหนดขอบเขต( Boundary Method )
ในการค้นหาทางน้ำหรือ ทางอากาศ มักจะกำหนด ขอบเขตเป็นสี่เหลี่ยมโดยใช้เส้นรุ้งสองเส้น และเส้นแวงสองเส้นที่ขนานกันกำหนด
ใน ส่วนหน่วยค้นหาทางพื้นดินมักจะการกำหนดขอบเขตการค้นหา ด้วยภูมิประเทศที่เป็นแนวหรือสังเกตได้ชัด ได้แก่ ถนน , แนวลำน้ำ ,เทือกเขา ตัวอย่าง เช่น เป้าหมายอยู่ในเขตพื้นที่ดังนี้ ทางใต้ไม่เกินทางหลวงหมายเลข ๓๓ ทางตะวันออกไม่เกิน เขต ของอ่างเก็บน้ำซับเหล็ก ทางตะวันออกไม่เกิน เนิน ๓๖๑ และทางเหนือ ไม่เกินเทือกเขา เนิน ๗๖๕
หลังจากที่มีการพบ ผู้ประสบภัย การรายงานกลับมายัง บก.หรือ ส่วนที่จะ รองรับผู้ประสบภัยที่อาจจะบาดเจ็บ ต้องการการนำส่ง โรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน หากไม่มีการวางแผนการสื่อสารที่ดีพอ ในบางสถานการณ์ ชุดค้นหาอาจจะไม่สามารถติดต่อด้วยวิทยุสื่อสาร ,โทรศัพท์ได้ การใช้ทัศนะสัญญาณสามารถช่วยได้ดี เช่น การใช้ พลุสัญญาณ , ควันสี , เสียงนกหวีด , แผ่นผ้าสัญญาณ ประกอบกัน แต่ต้องมีการวางแผนประสานเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนออกปฏิบัติการค้นหา

๓. การเข้าถึงผู้ประสพภัย (Access) จะ เริ่มต้นเมื่อค้นพบร่องรอย ชิ้นส่วนหรือสิ่งบอกเหตุ ที่ชัดเจน ว่า เป็นจุดตกของอากาศยาน โดยจะเป็นการ เข้าถึง ตัวผู้ประสพภัยเป็นลำดับแรกทันที่ที่พบ หาก เป้าหมายที่ค้นหา อยู่ในพื้นที่ที่ยากในการเข้าถึง เช่น อยุ่ในที่ต่ำ เหว ซอกเขา , บนหน้าผาสูง ,ค้างต้นไม้ขนาดใหญ่ ฯลฯ ชุดค้นหาจะต้อง วางแผนการเข้าถึงผู้ประสบภัย โดยต้องใช้หลัก ๓ ประการพื้นฐานการกู้ภัย ๑. ผู้ช่วยเหลือต้องปลอดภัย ๒. ทีมช่วยเหลือกู้ภัย ต้องปลอดภัย และประการสุดท้ายผู้ประสบภัยต้องปลอดภัย
ในการเข้าถึงอากาศยาน ที่ประสบภัย มีหลายสถานการณ์ที่เป็นไปได้เช่น
๑.อากาศยาน โดยสาร ตก และมีเพลิงไหม้ มีผู้ติดอยู่ภายใน จนท.ต้องใช้ชุดผจญเพลิง พร้อมเครื่องช่วยหายใจ ทำตามขั้นตอนการดับเพลิงของอากาศยาน
๒.อากาศยานตก ในพื้นที่ป่าภูเขาลงไปในเหวลึก ก็ต้องใน ระบบเชือกกู้ภัย ในการนำชุดช่วยเหลืองลงไป พร้อมกับ นำ เครื่องตัดถ่างขนาดเล็กที่สามรรถนำพาไปได้ด้วยคน, อุปกรณ์การแพทย์ฉุกเฉินลงไปเพื่อ เตรียมปฏิบัติในขั้นการปฐมพยาบาลและดำรงสภาพผู้ประสบภัย Stabilize

บันทึกการเข้า

sompoat
AV Professor
ผู้บัญชาการเอวีสูงสุด
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1473



« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2011, 06:03:32 AM »

(ต่อ)
๓. การเข้าถึงผู้ประสพภัย (Access) จะ เริ่มต้นเมื่อค้นพบร่องรอย ชิ้นส่วนหรือสิ่งบอกเหตุ ที่ชัดเจน ว่า เป็นจุดตกของอากาศยาน โดยจะเป็นการ เข้าถึง ตัวผู้ประสพภัยเป็นลำดับแรกทันที่ที่พบ หาก เป้าหมายที่ค้นหา อยู่ในพื้นที่ที่ยากในการเข้าถึง เช่น อยุ่ในที่ต่ำ เหว ซอกเขา , บนหน้าผาสูง ,ค้างต้นไม้ขนาดใหญ่ ฯลฯ ชุดค้นหาจะต้อง วางแผนการเข้าถึงผู้ประสบภัย โดยต้องใช้หลัก ๓ ประการพื้นฐานการกู้ภัย ๑. ผู้ช่วยเหลือต้องปลอดภัย ๒. ทีมช่วยเหลือกู้ภัย ต้องปลอดภัย และประการสุดท้ายผู้ประสบภัยต้องปลอดภัย
ในการเข้าถึงอากาศยาน ที่ประสบภัย มีหลายสถานการณ์ที่เป็นไปได้เช่น
๑.อากาศยาน โดยสาร ตก และมีเพลิงไหม้ มีผู้ติดอยู่ภายใน จนท.ต้องใช้ชุดผจญเพลิง พร้อมเครื่องช่วยหายใจ ทำตามขั้นตอนการดับเพลิงของอากาศยาน
๒.อากาศยานตก ในพื้นที่ป่าภูเขาลงไปในเหวลึก ก็ต้องใน ระบบเชือกกู้ภัย ในการนำชุดช่วยเหลืองลงไป พร้อมกับ นำ เครื่องตัดถ่างขนาดเล็กที่สามรรถนำพาไปได้ด้วยคน, อุปกรณ์การแพทย์ฉุกเฉินลงไปเพื่อ เตรียมปฏิบัติในขั้นการปฐมพยาบาลและดำรงสภาพผู้ประสบภัย Stabilize

๔. การช่วยเหลือปฐมพยาบาลเตรียมการเคลื่อนย้าย (Stabilize) เป็นการให้การดูแลด้านการแพทย์ ณ พื้นที่เกิดเหตุ เพื่อที่จะ นำผู้ประสบภัย ออก โดยไม่มีการบาดเจ็บเพิ่มเติม และ ไม่มีอาการที่รุนแรงขึ้น จากที่เป็นอยู่ ในสถานการณ์ อากาศยานประสพภัย อาการบาดเจ็บของผู้ประสบภัย มักจะเป็นเรื่องของ การบาดเจ็บจากแรงกระแทก การถูกเศษโลหะ,กิ่งไม้ ทิ่มตามร่างกาย ที่ทำให้เกิดบาดแผลเสียเลือดจำนวนมาก ,การบาดเจ็บของกระดูก คอหรือสันหลัง ,บาดแผลไฟลวก อาการเหล่านี้ จะต้องใช้เครื่องมือและบุคคลกรที่ผ่านการฝึกที่ได้มาตรฐานมาจึงจะเพิ่มโอกาส รอดชีวิต
ในส่วนงานด้านนี้นั้น ในพื้นที่ ประสบภัยที่สามารถเข้าถึงสะดวกด้วยรถยนต์ก็ ไม่เป็นปัญหานัก แต่ถ้าเป็นพื้นที่ ที่ถูกตัดขาดนั้น การปฏิบัติดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพพอ ซึ่งหลายครั้งเกิดจากบุคคลกรการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทยยังไม่มีทักษะในการ กู้ภัย ที่จำเป็น เช่น สภาพร่างกายที่แข็งแรงพอที่จะแบกอุปกรณ์ , การใช้แผนที่เข็มทิศ , เป็นต้น
การปฏิบัติการดังกล่าวต้องใช้เครื่องมือ การแพทย์ฉุกเฉินที่สามารถเคลื่อนย้ายหรือนำพาสะดวก น้ำหนักกเบาเพราะต้องเข้าไปในพื้นที่ เจ้าหน้าที่จะต้องได้รับการอบรมมาเป็นพิเศษ เพราะ สภาพแวดล้อมในการทำงานต่างจากการทำงานในห้องฉุกเฉินหรือ รถพยาบาลมาก ในประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานที่ควบคุมมาตรฐานนี้อย่างจริงจัง ในส่วนศูนย์นเรนทร ก็เพิ่งจะก่อตั้งได้ไม่นาน ซึ่งยังไม่มีศักยภาพเพียงพอในการกำหนดแนวทางหรือควบคุม พัฒนามาตรฐาน บุคคลากร

๕. การนำส่งพื้นที่รองรับ หรือพื้นที่ รักษาพยาบาล (Transportation) เป็นการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจากพื้นที่ที่อันตราย ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย เพื่อการรักษาขั้นสูงต่อไป เช่น การนำออกจากพื้นที่ป่าภูเขามายัง สนาม ฮ.ที่ใกล้ที่สุดเพื่อส่งต่อไปยัง รพ.มีขีดความสามารถเพียงพอในการรักษา เช่น การเคลื่อนย้าย ไปยังพื้นที่ รองรับ ( สถานพยาบาล ) ซึ่งการทำงานโดยทั่วไปก็จะใช้เทคนิคเดี่ยวกับการเข้าถึงพื้นที่,
การนำ ส่ง ควรจะเตรียมการตั้งแต่เริ่มรับรายงาน เพราะ เราไม่อาจทราบได้ว่า ผู้ประสบภัยจะมีอาการมากน้อย แค่ไหน รถพยาบาลที่มีระบบการช่วยชีวิตขั้นสูง(Advance Trauma Life Support: ALS) ควรจะเตรียมพร้อม ณ จุดรับหรือ บก.เหตุการณ์เพื่อเตรียม รับผู้ประสบภัยจากชุดค้นหา โดยส่วนการแพทย์ที่สนับสนุนการค้นหาช่วยเหลือ จะต้อง เตรียม นายแพทย์ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะศัลยแพทย์ เตรียมณ รพ.ที่จะเป็นพื้นที่รองรับ ,การจัดเตรียมกลุ่มเลือด,การประสาน จนท.ตร.ในการอำนวยความสะดวกการจราจรจากจุดรับ ไปยัง รพ.
การส่งผู้ประสบ ภัยทางอากาศ เป็นวิธีที่รวดเร็ว แต่ข้อเท็จจริงที่น่าตกใจของประเทศไทยคือหน่วยราชการ ไทยไม่มี เอลิคอปเตอร์พยาบาลที่แท้จริง สำหรับประชาชนทั่วไป คำว่า เฮลิคอปเตอร์พยาบาล จะหมายถึงเฮลิคอปเตอร์ ที่มีเครื่องมืออุปกรณ์พยาบาลขั้นสูง เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า defibrillator, เครื่อง ,Suction device , ventilation device ซึ่ง ปัจจุบัน กองทัพใช้การดัดแปลง อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้สามารถบรรทุกบนอากาศยาน ได้ แต่ไม่มีเฮลิคอปเตอร์พยาบาล ที่เตรียมพร้อมรองรับเหตุการณ์ได้ทันทีเลยแม้แต่ลำเดียว เพราะ ส่วน อากาศยาน , อุปกรณ์ , บุคคลากรการแพทย์ ไม่ได้อยู่ในที่เดียวกัน จะมีพร้อมก็ต่อเมื่อเป็นการจัดเฉพาะกิจ ซึ่งต้องใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะพร้อมปฏิบัติการ

ปัญหาข้อขัดข้องของระบบการค้นหาช่วยเหลือของประเทศไทย

ประเทศไทยมีหน่วยงาน องค์การภาคประชาชนจำนวนมาก ดำเนินการเครื่องเกี่ยวกับการค้นหาช่วยเหลือทุกหน่วยมีความตั้งใจและปราถนา ดี ในเรื่องของการค้นหาอากาศยานที่ประสบภัย เป็นเรื่องที่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรในวงการการค้นหาประการหนึ่ง คือ โอกาศเกิดขึ้นน้อย และ คนในวงการการบินเองไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบการค้นหาภาคพื้นดินเท่าที่ควร ทำให้ขาดการพัฒนาไปทั้งระบบ ตัวหน่วยงานค้นหาช่วยเหลือเองขาดองค์ความรู้ ทำให้หลายครั้งตกเป็นเหยื่อของผู้ประกอบการค้าที่ไร้จริยธรรม นอกจากนี้ยังมีปัญหาอีกหลายอย่างที่ทำให้ การค้นหาช่วยเหลือของประเทศไทย ไม่พัฒนาไปเท่าที่ควรทั้งที่ ผู้ก่อตั้งหน่วยงาน องค์กรทั้งหลายความความตั้งใจอย่างมากที่จะทำงานเพื่อสังคม บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้ร้ายกับบุคคล ,บ่อนทำลายหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นภาพสะท้อนของปัญหาให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันแก้ไข โดยเป็นปัญหาที่รวมรวมจากการปฏิบัติงานของนักกู้ภัยตามท้องถนน, หน่วยราชการที่ทำหน้าที่การค้นหาช่วยเหลือ

๑.การขาดการฝึกครบทั้งระบบ
ที่ ผ่านมาการฝึก SAREX จำกัดให้ความสำคัญกับวงการการบินหรือหน่วยบินเป็นหลักไม่ได้มีการ ให้ความสำคัญกับส่วนอื่นเท่าที่ควร ทำให้เมื่อต้องทำงานจริงภาพที่เห็นคือ ความสับสนของการประสานงานหน่วยต่างๆ ,ความไม่พร้อมของหน่วยค้นหาภาคพื้นดิน , ซึ่ง คงไปโทษหน่วยเหล่านั้นไม่ได้เพราะ งบประมาณที่ใช้ในการฝึกค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัยอยู่ในมือของ กรมขนส่งทางอากาศกระทรวงคมนาคม
ซึ่งปีหนึ่งมีจำนวนไม่น้อย ซึ่งมักจะมุ่งเน้นเพียงเรื่องการบินค้นหา

๒.การขาดแคลนและมาตรฐานของ อุปกรณ์การค้นหากู้ภัย
๒.๑ การขาดแคลนอุปกรณ์การกู้ภัย
เนื่อง จากส่วนมาก คนที่ทำงานกู้ภัย กับ ผู้ที่ออกทุน เป็นคนละบุคคลกัน ทำให้ บางครั้งการจัดหาอุปกรณ์ ไม่สอดคล้องกับ การทำงานรวมทั้งการมองภาพการกู้ภัยที่อาจจะจำกัดบนท้องถนนทำให้มองข้าม เรื่องอื่นๆ ในส่วนราชการเอง เนื่องจากงานกู้ภัยหรืองานค้นหากู้ภัยเป็นเรื่องที่จำกัดในวงไม่กว้างนักคน ที่มีความรู้โดยเฉพาะระดับผู้บริหารยังมีน้อย รวมทั้ง ระบบการจัดหาทางราชการยังไม่เกื้อกูลทำให้ไม่สามารถจัดหาเครื่องมือที่เหมาะ สมได้ หรือ ไม่ก็มีคำตอบว่ามีอะไรให้ใช้ไปก่อน ,ต้องการทำงานท่ามกลางความขาดแคลน ซึ่ง ภาพที่เห็น ตราบใดที่ผู้บริหารระดับสูงยังนั่งรถเก๋งราคาเป็นล้าน ,สัมมนานั่งห้องแอร์กินอาหารโรงแรมได้ ประโยคนี้ไม่ควรนำมาใช้กับ เครื่องมือที่ใช้ช่วยชีวิตคน
ตัวอย่างเครื่องมือ อุปกรณ์ที่หน่วยกู้ภัยยังขาดแคลนอยู่เช่น ระบบเชือกกู้ภัย, เครื่องตัดถ่างแบบนำพาด้วยบุคคล , ชุดกู้ภัยผิวน้ำ พื้นที่ที่กระแสน้ำหลาก ,เครื่องหาพิกัดด้วยดาวเทียม
๒.๒ มาตรฐานอุปกรณ์การกู้ภัยในท้องตลาด
ใน ต่างประเทศมีองค์กรกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์การกู้ภัย เช่น NFPA สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ National Fire Pprotection Association ของสหรัฐ , COMITE EUROPEEN DE NORMALISATION (CEN) คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานของสหภาพยุโรป แต่ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้โดยตรงมีเพียง กรมโรงงานอุตสหกรรม ซึ่ง ขาดผู้ชำนาญการและองค์ความรู้ที่เพียงพอในการกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ รวมทั้งอำนาจทางกฏหมายในการควบคุมมาตรฐานของ อุปกรณ์การกู้ภัย ซึ่ง จะต้องมีการหารือในระดับรัฐบาล หาหน่วยงานที่รับผิดชอบและพัฒนาองค์ความรู้ให้มีศักยภาพในควบคุมกำกับดูแล มาตรฐานอุปกรณ์ การกู้ภัย อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้มีบางบริษัทในประเทศไทยใช้เครื่องหมายเหล่านี้โดยพละการ

๓.การขาดทักษะการค้นหาช่วยเหลือ
การ ค้นหาช่วยเหลือของหน่วยงานเอกชน หรือแม้กระทั่งทหารตำรวจ บางหน่วยเอง ก็ทำกันตาม ความคิดตัวเอง ( ตามมีตามเกิด )การค้นหาช่วยเหลือไม่ใช่การเดินหาของในสนามหญ้า ที่เดินเป็นหน้ากระดานค้นหาได้ หรือ ตามหา ลูกหลานที่หลงในห้างสรรพสินค้า แต่เป็น สิ่งที่ต้องมีการฝึกฝนซึ่ง ควรจะมีการฝึกหรือให้ความรู้ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ยามปกติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งทักษะจะต้องมีการดำรงขีดความสามารถไม่ใช่พอฝึกจบรับใบประกาศแล้วจะไม่ ต้องฝึก โดยทักษะที่สำคัญมีดังนี้
๓.๑ ทักษะพื้นฐานทั่วไป
การใช้ แผนที่ประกอบเข็มทิศ ในการเดินทางในภูมิประเทศ (ฝึกใช้จนถึงขั้นชำนาญการ ) , การปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นต้น , ความรู้และความเข้าใจในระบบบัญชาการเหตุการณ์(โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ )
๓.๒ หลักสูตร,มาตรฐานของนักกู้ภัยทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
๓.๓ การกำหนดมาตรฐานและการดำรงรักษามาตรฐานและการพัฒนาศักยภาพของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
๓.๔ ระบบการบัญชาการเหตุการณ์ ที่สามารถใช้งานได้จริง
ระบบ บัญชาการเหตุการณ์ในภาวะวิกฤติ ควรจะมีการพัฒนาในภาพรวมให้สามารถใช้งานร่วมกันได้เป็นมาตรฐานเดียว ซึ่ง เท่าที่ผ่านมา การอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารวิกฤติยังมีทิศทางไม่ชัดเจน บางก็เอา นักวิชาการด้าน ธุรกิจมาบรรยาย เรื่องของ Crisis Management ภาคธุรกิจมาใช้ ซึ่งบางครั้งไม่สามารถทำให้ผู้รับฟังเข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้ไม่ได้ การบัญชาการเหตุการณ์ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ จะต้องมีการฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่ใช่เพียงนั่งฟังบรรยาย หรือสัมมนาไม่กี่วัน
โดยเรื่องของ ระบบบริหารจัดการวิกฤติการณ์ ในระดับประเทศ สมช. ได้พยายามที่จะดำเนินการร่างแผนแม่บทโดยใช้แนวทางการหลักฐานเอกสารของหลาย ประเทศโดยให้ มีการวิจัยและออกเอกสารมาเป็นร่าง แผนแม่บทการจัดตั้งหน่วยบริหารวิกฤติการณ์ระดับชาติ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ของการปรับปรุง แต่ ปัญหาที่ตามมาคือการนำเอาตัวอักษรมาปฏิบัติประยุกต์ใช้กับหน่วยงานในระบบ ซึ่ง แต่ละหน่วยงานก็มีองค์ความรู้ด้านนี้ที่แตกต่างกัน และภาพที่ออกมาคือ ความสับสนทุกครั้งที่เกิดวิกฤติต่างๆ ดังนั้นควรจะมีการสนใจที่จะพัฒนาระบบนี้ให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง ไม่ใช่เพียงแค่การสัมนาหรือฟังนักพูดบนเวทีแต่หากต้องเป็นสิ่งที่นำไปสู่การ ฝึกปฏิบัติการบริหารเหตุการณ์วิกฤติ ของผู้บริหารทุกระดับ

๔. ยังไม่มีหน่วยงานที่ควบคุมมาตรฐานของการค้นหาช่วยเหลือ หรือ ระบบการเผชิญภัยพิบัติ

๕. การยอมรับความเป็นจริง การรู้ขีดความสามารถขีดจำกัด และการรวบรวมองค์ความรู้แลกเปลี่ยนประสพการณ์และการทำงานร่วมกันระหว่าง หน่วยงานภายในประเทศรวมทั้งไม่มีองค์กรพัฒนาศึกษาวิจัยพัฒนาขั้นตอนวิธีการ จากประสบการณ์ของหน่วย
การปฏิบัติงานของการกู้ภัย แต่ละครั้ง หลังจบภารกิจจะต้องมีการทบทวนหลังการปฏิบัติ ทบทวนว่าทำอะไรไปบ้าง อะไรที่ดี อะไรที่ไม่ได้ มีข้อแก้ไขอะไรบ้าง เพื่อนำมาแก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น แต่ ในไทยการแลกเปลี่ยนความรู้ น้อยมาก อาจจะเนื่องจากสาเหตุ ที่คนไทยไม่ชอบที่จะบันทึกความผิดพลาด ทั้งที่ เราเองก็มีภาษิต ที่ว่าผิดเป็นครู พอไปสัมมนา นำเสนออะไรที่ไหน ก็บรรยายว่าสิ่งที่ทำอยู่ดีไปหมด เลอเลิศมาก และพอปฏิบัติงานจริงข้อบกพร่องมีให้เห็นมากมาย หน่วยงานค้นหากู้ภัยส่วนมากระดับผู้ปฏิบัติทราบดีว่า มีความต้องการหรือข้อบกพร่องของตนเองอย่างไร แต่พอมาในระดับผู้บริหารมักจะไม่ยอมรับความจริงที่เป็นอยู่ ซึงการนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นจริงส่งผลกระทบอย่างมากเมื่อเกิดเหตุการณ์ วิกฤติ รวมที่ทำให้หน่วยงานไม่สามารถพัฒนาทันต่นสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน การปฏิบัติการค้นหาช่วยเหลิอของไทยมีการปฏิบัติ หลายครั้ง แต่หาข้อมูลรายละเอียดการปฏิบัติการได้อย่างยากลำบาก ถ้าได้มาก็เป็นการรายงานที่มีการแต่งเติม ตัดต่อให้เกิดภาพที่เหมาะสมกับการรายงานตามระบบราชไทยโบราณ คือ “ ปฏิบัติงานได้ดี มีปัญหาเล็กน้อย สำเนาให้ส่วนที่เกี่ยวข้องนำไปแก้ไขในโอกาสต่อไป ” ดังนั้น หากมีหน่วยงานที่รวบรวมข้อมูลและบันทึกรายการข้อบกพร่อง ข้อดีข้อเสียต่าง จะทำให้การตอบสนองต่อเหตุการณ์เราดีพัฒนาขึ้น ตัวอย่าง เช่น เหตุการณ์ ขบวน ฮ.ติดตามเสด็จฯ ตกที่สุคีริน ปัญหาข้อขัดข้องครั้งนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งถ้าระดมกันปรับปรุง เหตุการณ์ ที่เขาใหญ่ เมื่อ เดือน ส.ค. ที่ผ่านมา คงไม่เป็นแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กล้องช่วยค้นหาติดเฮลิคอปเตอร์ , ไฟค้นหา ,การฝึกชุดค้นหาทางพื้นดิน,เป็นต้น
ปัจจุบัน กองทัพอากาศที่ประกาศตัวว่าเป็น หน่วยที่เป็นแกนนำ มีกิจเฉพาะหลัก ในการค้นหาช่วยเหลือ อากาศยานหลักในการค้นหาช่วยเหลืออากาศยานใช้งานมาตั้งแต่สงครามเวียดนาม ไม่มีขีดความสามารถในการค้นหาเวลากลางคืน เป็นเครื่องยนต์เดียว ๒ ใบพัด การค้นหาต้องใช้สายตาของเจ้าหน้าที่ รอกที่ใช้ก็อายุการใช้งานมากกว่า๑๐ ปี และชำรุดบ่อย ซึ่ง ปัจจุบัน อากาศยานมาตรฐานสากลในการค้นหาควรจะเป็นอากาศยานที่สมรรถนะสูง ๒ เครื่องยนต์ ๔ ใบพัดขึ้นไป รวมทั้งควรมีเครื่องช่วยเดินอากาศ และเครื่องช่วยการค้นหาให้พร้อม แต่กองทัพอากาศก็ให้ความเร่งด่วนในการจัดหาในลำดับหลังๆทั้งที่เป็นเรื่อง เกี่ยวพันกับการช่วยชีวิต รวมทั้งกรมขนส่งทางอากาศที่เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้เองก็มิได้ใส่ใจรับรู้ ปัญหาความขาดแคลนนี้คงต้องรอจนกว่าจะมีการสูญเสียที่มิอาจรับได้เกิดขึ้น

๖. ความตระหนักในเรื่องความปลอดภัย(Safety) และระบบบริการฉุกเฉินในระดับผู้บริหารยังมีน้อยเกินไป
เรื่อง ของระบบความปลอดภัย หรือ นิรภัย เป็นเรื่องที่ประเทศไทยเพิ่งมาให้ความสนใจ ก็เนื่องจากการมีกฏหมายคุ้มครองแรงงาน แต่ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยเป็นที่สนใจนักของผู้บริหารเนื่องจากกระบบดังกล่าวเป้ นการลงทุนที่ หลายคนมองว่าไม่มีผลกำไร ต้องมีการบังคับด้วยกฎหมายถึงจะมีการตื่นตัว ระบบความปลอดภัยจะมักถูกมองเป็นเรื่องสุดท้ายเสมอในการวางแผนการทำงาน ตัวอย่าง เช่น เครื่องมือในการค้นหาช่วยเหลือ ได้แก่ เฮลิคอปเตอร์ที่มีศักยภาพสูงของกองทัพอากาศ กลับได้รับการพิจารณาเป็นเรื่องหลังๆ , การฝึก SAREX ที่ทุ่มให้กับงบประชาสัมพันธ์และการสาธิต มากว่างบการฝึกจริง เป็นต้น

๗. การขาดจิตสำนึกหรือ คุณธรรมจริยธรรมของผู้ประกอบการค้าอุปกรณ์ และ ผู้จัดหาเครื่องมือ ของแต่ละหน่วยงาน
จาก ปัญหาที่ไม่มีหน่วยงานหลักทั้งหน่วยงานควบคุมมาตรฐาน หน่วยงานทางวิทยาการการค้นหาช่วยเหลือของรัฐ ที่เข้มแข็ง ทำให้ องค์กรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวต้องแสวงหาองค์ความรู้กันเอง ซึ่ง บางส่วน ต้องตกเป็นเหยื่อของ ผู้ประกอบการที่แฝงหรือแอบอ้าง องค์กรต่างประเทศแบบไม่ถูกต้องนัก เช่น มีผู้ประกอบการรายหนึ่ง ติดต่อบริษัทต่างประเทศขอไปดูงานต่างประเทศที่โรงงาน ถ่ายภาพเยอะ และนำมาแอบอ้างว่าตนเองจบหลักสูตรโน้นหลักสูตรนี้ เข้ามาครอบงำทางความคิด เทคนิคปฏิบัติ รวมทั้งนำของที่ไม่ได้คุณภาพ หรือ ราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็นมากๆ , บางครั้งก็นำมาลอกเลียนแบบ และขายในราคาเท่ากับของต้นฉบับ การลดคุณลักษณะเฉพาะลงเพื่อให้ได้ของ ถูกกว่า โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ ,โดยในส่วนจัดหาเองบางส่วนก็เห็นแก่ค่าคอมมิสชั่นหรือผลประโยชน์ที่ผู้ ประกอบการเสนอ

๘. ขาดการดูแลเรื่องระบบการส่งกำลังบำรุงและงบประมาณร่วมกัน
หลาย ครั้งที่ผ่านมาการติดขัดของภารกิจมักเกิดจากข้อจำกัดของ การใช้จ่ายงบประมาณ สิ่งอุปกรณ์สิ้นเปลือง การซ่อมบำรุงสิ่งของเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน งานค้นหาช่วยเหลือต้องทำงานแข่งกับเวลาเป็นวินาที แต่ระบบงบประมาณและการส่งกำลังบำรุงของชาติกลับไม่ตอบสนอง เจ้าหน้าที่งบประมาณของทุกส่วนงานควรมานั่งประจำที่ ที่บัญชาการเหตุการณ์เพื่อแก้ปัญหาด้านการสนับสนุนงบประมาณ เพราะสุดท้าย งบประมาณก็ออกมาจาก รัฐบาลไทยอยู่ดี
ปัญหาด้านนี้กองทัพประสพปัญหามา อย่างต่อเนื่อง หน่วยเหนือมักตำหนิหน่วยปฏิบัติว่าทำไม่ถูกต้องตามขั้นตอนระเบียบแบบแผน ซึ่งแนวทางแก้ไจง่ายๆคือ ให้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปลัดบัญชีของกองทัพมานั่ง ณ บก.เหตุการณ์๒๔ ชม. จัดชุด จนท.ทำเอกสารมาสนับสนุน ซึ่งจะทำให้หน่วยปฏิบัติใช้ความพยายามทั้งมวลในการช่วยเหลือและแก้ปัญหาที่ เกิดจากภัยพิบัติ ไม่ใช่มานั่งทำเอกสาร

๙.การซักซ้อมที่มุ่งเน้นการแสดงหรือสาธิตภาพความพร้อม มากการการซักซ้อมเพื่อหาความชำนาญและ ข้อบกพร่อง
ทุก ครั้งที่ผ่านมาการซักซ้อมการเผชิญภัยของหน่วยงานส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นการซักซ้อมเพื่อการแสดงให้ ผู้บังคับบัญชาชม การซ้อมแผนมักจะเป็นการซ้อมแบบสาธิตการปฏิบัติที่มีการกำหนด ขั้นตอน การปฏิบัติและเวลาอย่างแน่ชัด ซึ่งจะเป็นภาพที่สวยแต่จะไม่ได้อะไรมากนัก ซึ่งการฝึกที่แนะนำตามลำดับขั้น ควรจะเป็นดังนี้

๙.๑ การฝึกทักษะของแต่ละส่วนงาน
• การฝึกของหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
• การฝึกการผจญเพลิง
• การฝึกของ หน่วยกู้ภัยในพื้นที่
• การฝึกการวางแผน และการอำนวยการ CPX
• การฝึกของ หน่วยบิน ,เรือ , รถพยาบาล
๙.๒ การฝึกเป็นภาพรวมของพื้นที่
• การซ้อมความเข้าใจบนแผนผังหรือแผนที่
• การซ้อมการติดต่อสื่อสาร
• การซ้อมเฉพาะหัวหน้าหน่วย บนพื้นที่จริง
• การซ้อม แบบ ไม่ต้องนำอุปกรณ์มาแต่ใช้ผู้ปฏิบัติจริง
• การซ้อม แบบ กึ่งสาธิต ( รู้ขั้นตอนการปฏิบัติและเวลา )
• การฝึก เต็มรูปแบบในสถานการณ์สมมติ

ซึ่ง โดยปกติเราจะนิยมแต่การซ้อม แบบ กึ่งสาธิต เพราะ สามารถสร้างภาพได้งดงามตามความต้องการของผู้บังคับบัญชา แต่ไม่ทราบว่าปัญหาคืออะไร ซึ่งต้องยอมรับว่าการซักซ้อมจะต้องพบข้อบกพร่องเสมอ แต่ นั่นคือการซ้อม และข้อบกพร่องที่พบตอนซ้อมจะเป็นหนึ่งในข้อบกพร่องที่เรารู้ว่าจะแก้อย่างไร เมื่อภัยจริงมาถึง แต่การพบข้อบกพร่องในการซ้อม ไม่เลวร้ายเท่าเกิดเหตุการณ์จริง โดยสุดท้ายคำที่ไม่อยากได้ยินเลยคือคำว่า “มันเป็น เหตุสุดวิสัย และเราจะหามาตรการป้องกันหรือแก้ไขภายหลัง ” ถ้าข้อบกพร่องเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เราป้องกันได้และสามารถตรวจพบหาซ้อมกันจริงๆ เช่น ความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์ , ความพร้อมของระบบ ,คน ฯลฯ

ทั้ง ๙ ข้อนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่เด่นชัด ของระบบการค้นหาช่วยเหลือของประเทศไทย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในระบบซึ่ง ร่วมปฏิบัติการในครั้งนั้นคงจะรู้ดีว่าสิ่งที่ต้องแก้ไขคืออะไรบ้าง อย่าใหการสูญเสียของ นักบินทั้งสองสูญเปล่า ความพยายามของทุกท่านล้วนเต็มเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจ ที่ผู้เขียนเองก็ขอชื่นชม แต่ ความพยายามของพวกเราไม่ควรสูญเปล่า ควรจะนำข้อบกพร่องไปปรับปรุงแก้ไข ให้เกิดประสิทธิภาพที่แท้จริงในระบบการค้นหาช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย ของประเทศไทยต่อไปเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพที่แท้จริง

เอกสารอ้างอิง

1. Joint Pub 3-50.2 Doctrine For Joint Combat Search and Rescue
2. FM 1-111 appendix D Combat Search and rescue
3. FM 8-10-6 MEDICAL EVACUATION IN A THEATER OF OPERATIONS
4. CMC rope rescue manual
5. AIR FORCE INSTRUCTION 16-12023 MAY 2001 Operations Support PARARESCUE OPERATIONS, TECHNIQUES,AND PROCEDURES
6. เอกสาร แนวทางการพัฒนาด้านการค้นหาและช่วยชีวิตของประเทศไทยในภาพรวม
จาก ผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นหาและช่วยชีวิตโดยผู้เกี่ยวข้อง จากเหล่าทัพ ส่วน ราชการ และภาคเอกชน เมื่อ ๓๐ มิ.ย. – ๒ ก.ค.๔๗ พัทยา จ.ชลบุรี
7. เอกสารประกอบการฝึก SAREX 2005 จว.พิษณุโลก
บันทึกการเข้า

ze7ez
ผู้บัญชาการเอวีสูงสุด
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2239



« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2011, 06:43:28 AM »

เห็นโฆษกสรรเสริญบอกว่า แบล็คฮอว์ครุ่นนี้มีอุปกรณ์พิเศษส่งสัญญาณดาวเทียมเมื่อเครื่องตก(แต่ไม่มีเนวิเกเตอร์)
ถ้าตกแรงเพราะแรงจีเครื่องจะส่งสัญญาณถึงดาวเทียม  แต่ถ้าตกแล้วระเบิดก็ไม่ส่งสัญญาณ (อธิบายได้ดี ดูมีหลักการจริงๆ)

แต่นี่ตกอย่างแรงไม่ระเบิดแต่เครื่องไม่ส่งสัญญาณ

อ้าว!...แล้วมันเป็นอะไรกับแบล็คฮอว์ค ทำไมเครื่องไม่ส่งสัญญาณดาวเทียม ทำไมไม่มีใครมาอธิบายเรื่องนี้ !?
งืมๆ ของเขาดีได้มาตรฐานจริงๆ


ปล.นี่เป็นอุธาหรณ์ รีบแล้วไม่ชัวร์ ไหนๆ คนมันก็ตายไปแล้วจะไปเก็บศพก็เอาให้ชัวร์ก่อน
รีบไปแล้วพวก 5 ศพมันจะฟื้นขึ้นมาเหรอ ตัวอย่างรถมูลนิธิฯ ก็มีให้เห็นแย่งแข่งกันเก็บศพชนกันตายก็มี
รู้...ว่าญาติ 5 ศพแรกนั้นรอได้รับศพไวๆ  แล้วทำให้ญาติอีก 9 ศพเสียใจล่ะ (ทำไมไม่มีภาพไม่ไปทำข่าวญาติ 9 ศพนั้นบ้าง)

ถ้าพวก 5 ศพรับรู้ว่ารีบเพราะจะมาเก็บศพพวกเขาก็คงจะเสียใจไม่ใช่น้อย
ที่ทำให้เพื่อนอีก 9 คนต้องตายตามไปด้วย

รีบ...ร้อนรน ใจอยากไปให้ถึงไวๆ โดยไม่ดูสภาพอากาศและองค์ประกอบหลายๆอย่าง แล้วผลออกมาไปไงครับ  เรื่องนี้นำไปใช้ไ้ด้กับทุกเรื่องครับ  จะทำอะไรคิดให้รอบคอบก่อน "ช้าแต่ชัวร์" จะได้ไม่ต้องมีใครเสียใจ

จะเอาเร็วไม่เอาชัวร์ เคยประเมินความเสี่ยงบ้างไหม  มาเพิ่งรู้สึกตัวก็เมื่อสาย ตอนนี้ไม่รีบไปเก็บศพ 9 ศพ ละ ทีนี้เอาชัวร์ไม่ปลอดภัยไม่ทำ
ไม่อยากให้เกิดอีกเป็นครั้งที่ 3 เหอๆ เพิ่งคิดไ้ด้จริงๆ ทหารประเทศไทย ปล่อยให้มันคิดเองแบบนี้ถ้ารบกับใครจะรอดไหมเนี่ย
ดังนั้น พวกเราต้องช่วยทหารคิดนะครับ... ! (รบแบบกองโจรในสภาพป่าดกทึบคงสู้เวียต สู้เขมรไม่ได้ เดินป่ายังให้คนพื้นที่นำทาง ในสนามรบใครจะนำทางให้เนี่ย)

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน!!! Cool
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2011, 06:58:15 AM โดย ze7ez ♥ ㋡ 大橋未久™ » บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  












AV Community Since 2009 : AVCollectors.com - Advertising please contact [email protected]