เพลงที่คุณ
maload โพสไว้เคยได้ยินได้ฟังอยู่ รู้สึกว่าจะนานแล้วเหมือนกัน พึ่งรู้จักชื่อเพลงกับชื่อนักร้องก็วันนี้ เวอร์ชั่นของนักร้องฝรั่งเธอดู sexy ดีนะครับ

วันนี้มีผลงานของศิลปินคู่ดูโอจากแดนอาทิตย์อุทัย
Miura Takuya และ
Tokuoka Yoshinari แห่งคณะ
Depapepe มาฝากกันครับ กับงานเพลงชุดนี้ที่เป็นการนำเอาบทเพลงคลาสิคเก่าๆมาเรียบเรียงและบรรเลงใหม่ในแบบอะคูสติกกีตาร์ตามแนวทางของพวกเค้า
Depapepe Miura Takuya และ Tokuoka Yoshinari
ผมหมายถึงอัลบั้มชุดนี้ของพวกเค้าครับ
depacla 1 และ 2

ผมเลือกมาให้ฟังเฉพาะเพลงที่ผมชอบนะครับซึ่งผมจัดมาให้ฟังทั้งเวอร์ชั่นที่อยู่ในอัลบั้มนี้ของพวกเค้า รวมถึงในเวอร์ชั่นที่บรรเลงในแบบฉบับของเพลงคลาสิคด้วยเพื่อให้ฟังเปรียบเทียบกัน
เริ่มเพลงแรกกันเลยละกันครับเป็นผลงานเพลงของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันท่านนี้ครับ
Johann PachelbelJohann Pachelbel คศ. 1653-1706
Depapepe - Pachelbel's Canon in D http://www.youtube.com/watch?v=22D51433-zcอยากฟังในแบบเพลงคลาสสิคก็ย้อนกลับไปฟังได้ตาม link ด้านล่างนี้ครับ ผมเคยพูดถึงเพลงนี้ไปแล้วตอนที่เกี่ยวกับเพลงคลาสสิคในหนังเกาหลีเรื่อง
The Classichttp://www.avcollectors.com/board/index.php?topic=134998.310มาถึงเพลงของศิลปินท่านต่อมาครับ
Johann Sebastian Bach นักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน
Johann Sebastian Bach คศ. 1685 – 1750
กับบทเพลงที่มีชื่อว่า
Air on the G String ความหมายของชื่อเพลงที่ผมเคยได้ยินได้ฟังมานะครับ
Air = เสียงดนตรี,เสียงเพลง
String = เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย
G = คีย์ดนตรีคีย์ G
สรุปรวมแล้ว Air on the G String ก็น่าจะหมายถึง
เสียงเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องสายในคีย์ G ลองฟังกันดูครับ
Depapepe - Air on the G String (J.S. Bach) http://www.youtube.com/watch?v=inIzdIyKo0Aส่วนเพลงนี้แบบบรรเลงด้วยดนตรีคลาสสิคที่ผมจัดมาให้ฟังกันนั้น เป็นผลงานการสีไวโอลินของสาวลูกครึ่ง ไทย-สิงคโปร์
Vanessa Mae ครับ
Vanessa Mae - Air On The G stringhttp://www.youtube.com/watch?v=fQmOma6UFIQมาถึงศิลปินสุดยิ่งใหญ่ท่านต่อมาครับ เป็นชาวเยอรมันอีกเช่นกัน
Ludwig van Beethoven ซึ่งคณะ
Depapepe ได้เลือกเพลงของท่านมาเล่นในอัลบั้มนี้อยู่ 2 เพลงด้วยกัน ซึ่งผมก็จะจัดให้ฟังกันทั้ง 2 เพลงเลยนั่นแหละครับ
Ludwig van Beethoven คศ. 1770 - 1827
ขอแทรกเรื่องหนังนิดนึงครับ พอดีพึ่งได้ดูหนังที่เกี่ยวกับชีวิตของท่าน(Beethoven) ในช่วงบั้นปลายจนกระทั่งท่านเสียชีวิต ซึ่งเป็นตอนที่ท่านได้มีอาการหูหนวกไปแล้ว แต่ก่อนผมเคยเข้าใจว่าท่านหูหนวกสนิทคือไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย แต่หลังจากได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้รู้ว่าท่านมีอาการหูหนวกก็จริงแต่ก็ยังคงได้ยินเสียงอยู่บ้าง ซึ่งก็มีผลกับการทำงานของท่านคือการประพันธ์เพลงและควบคุมวงดนตรีในฐานะวาทยากรด้วยเช่นกัน ผมหมายถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ครับ
Copying Beethoven
Copying Beethoven เป็นเรื่องราวของสาวน้อยคนนึงที่มีความใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นนักประพันธ์เพลง โดยที่มี Beethoven เป็นคนบันดาลใจ(หรือว่าไอดอลนั่นเอง) เธอได้มีโอกาสเข้าไปทำงานให้กับ บีโธเฟ่น ในฐานะคนคัดลอกโน้ตเพลง ที่ถูกเขียนขึ้นมาอย่างหวัดๆ โดยบีโธเฟ่นในขณะแต่งเพลง ให้ออกมาดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อเอาไปให้นักดนตรีได้ใช้ นำไปอ่านในขณะแสดงดนตรี ซึ่งคนที่ทำหน้าที่นี้จะต้องมีความรู้ ในทางดนตรีอยู่ด้วย(เพื่อที่จะไม่เขียนมันไปอย่างมั่วๆ)
เธอต้องทำงานร่วมกันกับ บีโธเฟ่น ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของการเป็นคนเจ้าอารมณ์ ขี้หงุดหงิด โมโหร้าย และหยาบคายอย่างมาก แต่เธอก็ยอมอดทนเพื่อที่จะได้รับคำแนะนำเรื่องการประพันธ์เพลงจากเขา พูดง่ายๆก็คือเธอต้องการมาฝากตัวเป็นศิษย์ของบีโธเฟ่นนั่นแหละ และนี่คือตัวอย่างบทสนทนาเจ๋งๆจากในหนัง ซึ่งบีโธเฟ่นตัวจริง อาจไม่เคยพูด แต่คนเขียนบทภาพยนตร์เขียนออกมาได้ น่าสนใจทีเดียว
ฉากแรกเป็นตอนที่ บีโธเฟ่น ได้แสดงความฉุนเฉียวโมโหร้ายออกไปใส่นางเอกแล้ว และได้ถามนางเอกขึ้นว่าเธอมาใก้ลชิดกับเขาเพื่ออะไร เธอตอบไปแบบตะกุกตะกักว่า เธอต้องการเป็นผู้ประพันธ์ดนตรี และนี่คือคำพูดของบีโธเฟ่นที่ได้พูดกับเธอ เกี่ยวกับนิยามของคำว่าดนตรีของเขา
“ดนตรี แรงสั่นสะเทือนในอากาศ คือ ลมหายใจของพระเจ้าพูดกับวิญญาณของมนุษย์ ดนตรี คือ ภาษาของพระเจ้า เรานักดนตรีได้ใกล้ชิดกับพระเจ้ามากที่สุดแล้ว ได้ยินเสียงพระองค์ อ่านปากพระองค์ เราให้กำเนิดลูกหลานของพระเจ้า นั่นก็คือนักดนตรี”บทสนทนาที่ผมชอบฉากต่อมาเป็นตอนที่บีโธเฟ่นแนะนำเกี่ยวกับการประพันธ์เพลงให้กับเธอ
“มาสโตรท่อนนั้นมันจบตรงไหนคะ” สาวน้อยเอ่ยถามขึ้นหลังจากนั่งทำงานเงียบๆอยู่นาน
“มันไม่ได้จบ มันลื่นไหล เธอจะต้องหยุดคิด เรื่องจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด นี่มันไม่ใช่สะพานที่พวกมนุษย์เหล็ก(บีโธเฟ่นหมายถึงสถาปนิกหรือวิศวกร)สร้างขึ้น นี่เป็นสิ่งมีชีวิต เหมือนเมฆเปลี่ยนรูปร่าง หรือสายน้ำที่เปลี่ยนทาง”
“แต่ในทางดนตรีมันใช้ยังไงคะ”
“ไม่ได้ใช้ มันเติบโต ท่อนแรกกลายไปเป็นท่อนที่ 2 แนวคิดไหนตายไปก็เกิดแนวคิดใหม่ ในงานของเธอ เธอหมกมุ่นอยู่กับ โครงสร้าง การเลือกรูปแบบที่ถูกต้อง
เธอต้องฟังเสียงภายในจิตใจของเธอ ชั้นไม่ได้ยินมันด้วยซ้ำจนกระทั่งชั้นหูหนวก ไม่ใช่ว่าชั้นอยากจะให้เธอหูหนวกนะ”
“คุณกำลังบอกว่าชั้นต้องหาความเงียบภายในตัวเอง แล้วชั้นถึงจะได้ยินเสียงดนตรีเหรอคะ?”
“ใช่ ใช่ ใช่ ความเงียบคือ คีย์สำคัญ ความเงียบที่อยู่ระหว่างตัวโน้ต เมื่อความเงียบนั้นห่อหุ้มตัวเธอ เธอจะบรรเลงเพลงจากใจ”
บทสนทนาที่ผมชอบฉากต่อมาเป็นตอนที่บีโธเฟ่นได้ไปดูโมเดลสะพานของแฟนนางเอกซึ่งน่าจะเป็นสถาปนิกหรือวิศวกร(คิดว่าในสมัยนั้นวิศวกรกับสถาปนิกน่าจะเป็นคนๆเดียวกันเลยไม่ได้แบ่งแยกกันเหมือนทุกวันนี้) เค้าได้ถามแฟนนางเอกขึ้นว่า คุณเป็นศิลปินหรือเปล่า แฟนของนางเอกจึงได้ย้อนถามกลับมาว่า แล้วนิยามของคำว่าศิลปินของเค้ามันคืออะไรล่ะ บีโธเฟ่นจึงได้ตอบออกไปดังนี้
“ศิลปินคือผู้ที่เรียนรู้การไว้ใจตัวเอง”“แล้วสะพานนี้มันเป็นยังไงบ้างคะ?” นางเอกถามแทรกขึ้นมาเพื่อลดความตึงเครียดของทั้งคู่ลง
“มันไร้วิญญาณ ขาดชีวิต เสน่ห์ อารมณ์ ตายด้าน ไร้ค่า!!” บีโธเฟ่นตอบตรงๆแบบไม่ยี่หระใดๆ
“คุณมีสิทธิ์อะไร!!!”(ที่มาต่อว่างานของเค้า)แฟนนางเอกเริ่มฉุนจัด
“จะบอกให้ว่าผมมีสิทธิ์อะไร คุณสร้างสะพานเพื่อเชื่อมพื้นที่ต่างๆ ผมสร้างมัน(เค้าหมายถึงดนตรี)เชื่อมจิตใจมนุษย์ พระเจ้าให้สิทธิ์ผม พระเจ้ากระซิบข้างหูบางคน แต่ตะโกนใส่หูผม! ผมถึงได้หูหนวก คุณตาบอดเมื่อไหร่คุณจะมีสิทธิ์นั้น”อยากบอกว่าอยากให้พระเจ้ามากระซิบข้างหูผม(messidona)บ้างจัง จะได้แต่งเพลงได้เพราะๆอย่างเขาบ้าง แต่คงไม่ต้องถึงขนาดให้ท่าน(พระเจ้า)มาตะโกนใส่หูผมเหมือนอย่างบีโธเฟ่นหรอกนะ 5555

มาฟังเพลงของเค้ากันดีกว่าครับนอกเรื่องไปอยู่นานทีเดียว
Depapepe -Beethoven Piano Sonata No.8 in C Minor, Op.13 (Pathetique) IIhttp://www.youtube.com/watch?v=VDM_ZPl8k34อยากฟังในแบบเดี่ยวเปียโน(Piano Sonata) ก็ย้อนกลับไปฟังได้ตาม link ด้านล่างนี้ครับ ผมเคยพูดถึงเพลงนี้ไปแล้วตอนที่เกี่ยวกับเพลงคลาสสิคในหนังเกาหลีเรื่อง The Classic เช่นเดียวกันกับเพลงของ Pachelbel ครับ
http://www.avcollectors.com/board/index.php?topic=134998.310เพลงต่อมาของ Beethoven ที่วง Depapepe เลือกนำมาเล่นเป็นเพลงที่ผมชอบที่สุดของอัลบั้มทั้ง 2 ชุดนี้เลย อาจเพราะว่าท่วงทำนองที่ Beethoven แต่งมัน
ไพเราะงดงามและไหลลื่น มากๆอยู่แล้วก็เป็นได้ 555

ลองฟังกันดูครับ
Depapepe - Ode to joy http://www.youtube.com/watch?v=HNs9Nj6NRrU&feature=relatedBEETHOVEN - ODE TO JOYhttp://www.youtube.com/watch?v=Wod-MudLNPAศิลปินท่านต่อมาก็เป็นเยอรมันอีกเช่นกัน
Felix Mendelssohn
Felix Mendelssohn คศ. 1809 – 1847
เป็นเพลงที่ได้ยินได้ฟังบ่อยๆในงานแต่งงานแบบฝรั่งครับ(ในหนังหรือซีรีย์ก็จะได้ยินได้ฟังบ่อยๆ) ลองฟังกันดู
Depapepe - Wedding March http://www.youtube.com/watch?v=D8Ks4zvT_Tw&feature=relmfuMendelssohn A Midsummer Night's Dream - Wedding March http://www.youtube.com/watch?v=z0wmzoHd6yoถ้านึกถึงเพลงในงานแต่งงาน(แบบฝรั่ง)แล้วจะมีอีกเพลงที่คิดว่าหลายๆคนคงจะคุ้นๆหูกันดีแต่อาจจะไม่รู้จักชื่อเพลง เป็นผลงานเพลงของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันท่านนี้ครับ
Richard Wagner Richard Wagner คศ.1813-1883
ลองฟังกันดูครับแต่ Depapepe ไม่ได้นำเพลงนี้มาเล่นนะครับ จัดให้ฟังเป็นแบบเพลงคลาสสิคขนานแท้ครับ
Wagner's Bridal Chorus http://www.youtube.com/watch?v=vFTnFErJEu4มาถึงศิลปินท่านต่อมาครับท่านนี้คิดว่าหลายๆคนคงคุ้นหน้า หรือว่าคุ้นเคยชื่อกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว มีความเชื่อ(หรืออาจเป็นความจริง)ที่ว่าเพลงของท่านถ้าฟังบ่อยๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กๆแล้วจะช่วยพัฒนาทางด้านอารมณ์และสมองของเด็กได้เป็นอย่างดี ไม่รู้จริงเท็จอย่างไรแต่ที่แน่ๆเพลงของท่านผู้นี้นั้นเป็นอมตะและมีความไพเราะกันอยู่มากมายหลายเพลงเลยทีเดียว
Wolfgang Amadeus Mozart ซึ่งก็เป็นชาวเยอรมันครับ
Wolfgang Amadeus Mozart คศ. 1756 – 1791
Depapepe - Rondo Alla Turca (Turkish March) http://www.youtube.com/watch?v=IJJAGFeTtXk Mozart-Turkish March http://www.youtube.com/watch?v=Af1bcpxxnxYมาถึงศิลปินท่านสุดท้ายที่ผมเลือกมาให้ฟังนะครับเป็นเยอรมัน(อีกแล้ว)
Jacques OffenbachJacques Offenbach คศ.1819 – 1880
Depapepe - Orpheus in the Underworld http://www.youtube.com/watch?v=PAbl3Fm6XhwJacques Offenbach - Orpheus in the Underworld Overturehttp://www.youtube.com/watch?v=y4hs7vW8SV0สังเกตไม๊ครับว่านักประพันธ์เพลงคลาสสิคส่วนมากเป็นเยอรมันทั้งนั้นเลย ไม่แน่ใจว่านี่เป็นหนึ่งในข้ออ้างของ
ฮิตเลอร์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 ด้วยหรือเปล่า ที่เที่ยวได้ไปรุกรานประเทศชาวบ้าน โดยอ้างว่าเชื้อชาติของตัวเอง(ชาวอารยัน) นั้นเป็นผู้มีอารยธรรม เรียกว่าเป็นเชื้อชาติที่สูงส่งกว่าชาวบ้านเค้านั่นแหละ
นอกเรื่องอีกแล้ว 555

วันนี้ลาล่ะครับ