นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนเอวีซี
..
AV DedicataR+ (VIP)
สหายร่วมหื่น
ออฟไลน์
กระทู้: 83
AVC
|
 |
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2010, 02:05:16 AM » |
|
คำพิพากษาฎีกาที่ 2128/2533 ชื่อคู่ความ พนักงานอัยการ กรมอัยการ โจทก์ นายนิยม ธนวัฒน์ชัยพงศ์ กับพวก จำเลย ชื่อกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138, 287 (1) พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯมาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 5(1), 20 ย่อสั้น การที่จำ เลยทั้งสามร่วมกันเพื่อความประสงค์แห่งการค้าหรือโดยการค้าทำ ให้ แพร่หลายด้วยการฉายภาพยนตร์ที่แสดงความสัมพันธ์ทางเพศ อันเป็นภาพลามกอนาจาร เป็น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287( 1 ) และการที่จำเลยทั้งสามขัดขวางมิให้เจ้า พนักงานตำรวจงัดกุญแจเข้าไปตรวจค้นภายในห้องซึ่งจำเลยเอาเครื่องฉายภาพยนตร์ และฟิล์ม ไปเก็บไว้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาว่าประสงค์มิให้การปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าพนักงานในการตรวจจับกุมลุล่วงไปโดยสะดวก ถือได้ว่าเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการ ปฏิบัติตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 แหล่งที่มา สำนักงานส่งเสริมตุลาการ ชื่อองค์คณะ ( อุดม เฟื่องฟุ้ง- พัลลภ พิสิษฐ์สังฆการ- อากาศ บำรุงชีพ ) เจ้าของสำนวน อุดม เฟื่องฟุ้ง คำค้นหา อาญา เป็น ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน เป็น แพร่ภาพลามก คำพิพากษาฎีกาที่ 3510/2531 ชื่อคู่ความ อัยการนนทบุรี โจทก์ นายบุญชู วงศ์ชัยสุริยะ จำเลย ชื่อกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 รวบรวมโดย อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย 6 ย่อสั้น ภาพหญิงยืนเปลือยกายกอดชาย ภาพหญิงสวมกางเกงในโปร่งตามีผู้ชายนอนกอดมือ โอบบริเวณทรวงอก ภาพหญิงเปลือยกายท่อนบนใช้มือจับหูโทรศัพท์กดที่อวัยวะเพศ ภาพหญิง เปลือยกายมีแหคลุมตัวมือข้างกุมนมอีกข้างหนึ่งกุมอวัยวะเพศ ภาพหญิงเปิดเสื้อให้เห็นนม ล้วงมือเข้าไปในกระโปรง ภาพหญิงเปลือยอกสวมกางเกงใน มือ ล้วงที่อวัยวะเพศ และภาพหญิงเปลือยอกสวมกางเกงขาสั้น มือข้างหนึ่งล้วงไปจับที่อวัยวะเพศ ภาพดังกล่าวแม้ไม่เห็นอวัยวะเพศชัดเจน แต่ก็มีลักษณะส่อไปในด้านยั่วยุกามารมณ์ และภาพ หญิงเปลือยตลอดร่างซึ่งพอเห็นอวัยวะเพศได้บ้างถือได้ว่าเป็นภาพอันลามก ไม่ใช่ภาพศิลปะ ที่ แสดงถึงสัดส่วนความสมบูรณ์ของร่างกาย ข้อความต่างๆที่ได้บรรยายถึงการร่วมประเวณีของชายและหญิงอย่างชัดเจน ละเอียดลออ โดยบรรยายถึงอารมณ์ของชายและหญิงไปในทางยั่วยุกามารมณ์ แม้จะมิได้ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ถือได้ว่าเป็นข้อความอันลามก แหล่งที่มา เนติบัณฑิตยสภา ชื่อองค์คณะ ( มาโนช เพียรสนอง- สีนวล คงลาภ- ประวิทย์ขัมภรัตน์ ) เจ้าของสำนวน มาโนช เพียรสนอง คำพิพากษาฎีกาที่ 2641/2531 ชื่อคู่ความ พนักงานอัยการประจำศาลแขวงสุราษฎร์ธานี โจทก์ นายจรัส คงเพ็ชร์ จำเลย ชื่อกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59,287 ย่อสั้น การที่จำเลยทำหน้าที่ฉายภาพยนตรทางโทรทัศน์ได้นำแถบบันทึกภาพลามกมาอัด ภาพยนตร์จีนที่กำลังแพร่ภาพ เพื่อใช้เป็นการส่วนตัว แต่ได้เกิดเหตุขัดข้องทางด้านเทคนิคการ ส่งภาพทำให้ภาพลามกที่บันทึกไว้ออกไปปรากฏทางเครื่องรับโทรทัศน์นั้น เหตุที่เกิดขึ้น ดังกล่าวเป็นไปในลักษณะบังเอิญ จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะแพร่ภาพลามกนั้นออกไปสู่สาธารณะ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 ไม่ แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาฎีกา รวบรวมโดย อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย 7 ชื่อองค์คณะ ( ถาวร ตันตราภรณ์- ชูเชิด รักตะบุตร์- สง่า ศิลปประสิทธิ์ ) เจ้าของสำนวน ถาวร ตันตราภรณ์ คำพิพากษาฎีกาที่ 2136/2531 ชื่อคู่ความ อัยการแม่ฮ่องสอน โจทก์ นางอรทัย สมดี จำเลย ชื่อกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158( 6 ) พระราชบัญญัติ ปรามการให้แพร่หลายและการค้าวัสดุอันลามก พ.ศ.2471 มาตรา 3 ย่อสั้น คำฟ้องของโจทก์อ้างพระราชบัญญัติปรามการให้แพร่หลายและการค้าวัสดุอันลามก พ.ศ. 2471 มาตรา 3 อันเป็นมาตราในกฎหมายว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดแล้ว แม้บท มาตราดังกล่าวจะระบุให้ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 240 แห่ง กฎหมายลักษณะอาญาที่ถูกยกเลิกไปแล้วและโจทก์ไม่ได้อ้างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 8 หรือบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญามาในฟ้องด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158( 6 ) แหล่งที่มา เนติบัณฑิตยสภา ชื่อองค์คณะ ( ชูเชิด รักตะบุตร์- สง่า ศิลปประสิทธิ์- ถาวร ตันตราภรณ์ ) เจ้าของสำนวน ชูเชิด รักตะบุตร์ คำค้นหา วิอาญา บรรยายฟ้อง ฟ้องสมบูรณ์ คำพิพากษาฎีกาที่ 3213/2526 ชื่อคู่ความ พนักงานอัยการกรมอัยการ โจทก์ นายสันชัย ศิริวิริยะ จำเลย รวบรวมโดย อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย 8 ชื่อกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 287( 2 ) ประมวลกฎหมายวีธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 ย่อสั้น แม้ศาลจะบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาของโจทก์แต่เพียงว่าจำเลย มีวีดีโอเทปภาพลามกไว้ใน ครอบครองเพื่อบริการแลกเปลี่ยนให้แก่ลูกค้าหรือสมาชิกด้วยการคิดค่าบริการเป็นเงินค่าเช่า แต่บันทึกหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจาของโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดเจนว่าจำเลยมีวีดีโอเทป ภาพยนตร์ลามกไว้ในครอบครองเพื่อบริการให้เช่า แลกเปลี่ยนแก่ลูกค้าหรือสมาชิก ด้วยการ คิดค่าบริการเป็นเงินค่าเช่าอันเป็นการบรรยายครบองค์ประกอบความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287( 2 ) แล้ว เมื่อจำเลยรับสารภาพศาลย่อมลงโทษจำเลยตาม ฟ้องได้ บันทึกหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจาของโจทก์ระบุแต่เพียงว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้รับ จำเลยพร้อมทั้งยึดของกลางจำนวน 2 รายการ ซึ่งได้แนบท้ายฟ้องและบัญชีของกลางระบุว่าเงิน 570 บาท เป็นของกลางที่พบในสถานที่เกิดเหตุขณะจับกุมเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่บรรยายให้ชัด แจ้งว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มา ด้วยการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เงินของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ พึงรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33 แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ชื่อองค์คณะ ( ประสาท บุณยรังษี- ชูเชิด รักตะบุตร์- โกมล อิศรางกูร ณ อยุธยา ) เจ้าของสำนวน ประสาท บุณยรังษี คำพิพากษาฎีกาที่ 5249/2542 ชื่อคู่ความ นางสาวสุทธิดา เกษมสันต์ โจทก์ นายฉัตรชัย วรดิลก จำเลย ชื่อกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 รวบรวมโดย อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย 9 ย่อยาว โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328 และ 332 กับให้จำเลยลงโฆษณาคำพิพากษาของศาลในหนังสือพิมพ์รายวันไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด มติชน และหนังสือพิมพ์สยามบันเทิง รายสัปดาห์เป็นเวลา ฉบับละ 7 วัน โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด และให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำ ที่ 2643/2540 ของศาลชั้นต้น และคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2608/2540 ของศาลจังหวัด กำแพงเพชร ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง จำเลยให้การปฏิเสธ แต่ รับว่าเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์สยามบันเทิงรายสัปดาห์ฉบับที่โจทก์ ฟ้อง และรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 จำคุก 3 เดือน และปรับ 30,000 บาท จำเลยไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนเห็นสมควร รอการลงโทษมีกำหนด 1 ปี ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และ 30 และให้จำเลยลงพิมพ์โฆษณาคำพิพากษาเฉพาะส่วนคำวินิจฉัยในหนังสือสยามบันเทิง รายสัปดาห์เป็นเวลา 7 วัน โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ที่โจทก์ขอให้นับโทษจำคุก จำเลยต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2643/2540 ของศาลชั้นต้น และคดีหมายเลขดำที่ 2608/2540 ของศาลจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อคดีนี้ศาลรอการลงโทษจึงไม่มีโทษจำคุกที่จะนับต่อ คำขออื่นให้ยก โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่รอการลงโทษให้จำเลยและไม่ปรับนอกจากที่แก้ให้ เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุก ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นบรรณาธิการมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์มิให้บทประพันธ์ หรือข้อความที่ลง พิมพ์กระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่นหรือขัดต่อจรรยาบรรณของหนังสือพิมพ์ และต้องไม่ผิดต่อ กฎหมาย หากมีข้อความใดละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น หรือผิดต่อกฎหมายจำเลยต้องรับผิด เสมือนหนึ่งจำเลยเขียนข้อความนั้นด้วยตนเอง การที่หนังสือพิมพ์สยามบันเทิงรายสัปดาห์ ลง ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่า โจทก์ มีความสัมพันธ์ทางเพศกับนายศรรามอันเป็นความเท็จและเป็นเรืองส่วนตัวที่ไม่เป็น ประโยชน์ต่อประชาชน อีกทั้งข้อความในกรอบข่าวที่ลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ยังส่อไปยัง ในทางลามกอนาจาร ไม่เป็นการสร้างสรรค์และขัดต่อจรรยาบรรณของหนังสือพิมพ์ แม้ศาล อุทธรณ์จะลงโทษจำคุกจำเลยเพียง 3 เดือน ไม่เกิดผลในการแก้ไขให้จำเลยกลับตัวเป็นคนดีได้ก็ ตาม แต่การลงโทษระยะสั้นก็ยังทำให้จำเลยหลาบจำและเป็นการปราบผู้อื่นมิให้กระทำผิด เช่นเดียวกับจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษให้จำเลยนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของ จำเลยฟังไม่ขึ้น รวบรวมโดย อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย 10 พิพากษายืน แหล่งที่มา สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ ชื่อองค์คณะ ( ชวลิต ยอดเณร- อำนวย เต้พันธ์- กำพล ภู่สุดแสวง ) เจ้าของสำนวน ชวลิต ยอดเณร คำค้นหา อาญา เป็น หมิ่นประมาทโดยโฆษณา วิอาญา ดุลพินิจกำหนดโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 3705/2530 ชื่อคู่ความ นายพัฒนพงษ์ เกสะวัฒนะฯ โจทก์ นายอุดม ตรีสุชน จำเลย ชื่อกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2( 4 ), 192, 195 วรรคสอง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 4, 6 ย่อสั้น ลิขสิทธิ์ที่บุคคลสามารถเป็นเจ้าของได้ จะต้องเป็นลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างสรรค์โดย ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าวีดีโอเทปของกลาง 1 ที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ มี บทบาทการร่วมเพศระหว่างหญิงและชายบางตอนอันเป็นภาพลามกซึ่งผู้ใดทำหรือมีไว้หรือมี ส่วนเกี่ยวข้องในการค้า เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 งานของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่งานสร้างสรรค์ ตามความหมายแห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2( 4 ) และไม่มีอำนาจฟ้อง วีดีโอเทปของกลาง 2 ที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลในระหว่างการพิจารณาไม่ใช่ของกลางที่ พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้ในคดี และโจทก์มิได้มีคำขอให้ริบ แม้วีดีโอเทป ดังกล่าวจะมีภาพลามกรวมอยู่ด้วยอย่างเดียวกันกับวีดีโอเทปของกลาง 1 ศาลก็ไม่มีอำนาจสั่ง ริบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ แหล่งที่มา สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ รวบรวมโดย อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย 11 ชื่อองค์คณะ ( ปิ่นทิพย์ สุจริตกุล- สมศักดิ์ เกิดลาภผล- สาระ เสาวมล ) เจ้าของสำนวน ปิ่นทิพย์ สุจริตกุล หมายเหตุ งานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆที่กฎหมายกำหนดไว้อันอาจมีลิขสิทธิ์ได้ เป็นที่ยอมรับกัน ว่าต้องเป็นงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มขึ้นเอง( originality )ของผู้สร้างสรรค์งานในลักษณะที่ ผู้สร้างงานได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างงานนั้น( creative effort )งานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ จำเป็นต้องเป็นงานใหม่ที่ไม่มีใครทำมาก่อน( novelty) เพียงแต่ผู้สร้างสรรค์งานคิดริเริ่มขึ้นเองโดยไม่ได้ลอกเลียนแบบกัน แม้งานที่ปรากฏออกมาจะ คล้ายคลึงกัน งานเหล่านี้ก็ได้รับความคุ้มครองอย่างงานอันมีลิขสิทธิ์เท่าเทียมกัน และเนื่องจาก กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองผลของงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มและความวิริยะอุตสาหะ ของผู้สร้างสรรค์ ฉะนั้นจึงเป็นการคุ้มครองในรูปของงานที่ผู้สร้างแสดงออก( form of expression ) มิได้ให้ความคุ้มครองแก่ตัวความคิด( idea) ซึ่งยังมิได้แสดงออกมาเป็นผลงานแต่อย่างใด เช่น ผู้แต่งนวนิยายเพียงกำหนดเค้าโครงเรื่องที่จะ เขียนไว้แต่ยังไม่ทันลงมือเขียนมีผู้แอบเอาเค้าโครงเรื่องนั้นมาเขียนเป็น นวนิยายก่อนเช่นนี้จะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ยังไม่ได้ เพราะกฎหมายยังไม่ได้ให้ความ คุ้มครองแก่เค้าโครงเรื่องซึ่งยังเป็นเพียงตัวความคิด นอกจากนั้นการให้ความคุ้มครองในเรื่อง ลิขสิทธิ์นี้มิได้ขยายไปถึงวิธีการหรือเทคนิคในการสร้างงาน เช่น สิทธิในแบรูปเล่ม การเรียบรี ยงตัวอักษร และภาพในหนังสือ กฎหมายลิขสิทธิ์มิได้ให้ความคุ้มครอง( คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2061/2526 ) ทั้งมิได้คำนึงว่างานที่สร้างออกมาแล้วจะมีคุณภาพเป็นอย่างไร แม้งานนั้นจะเป็น งานศิลปกรรมที่ดูเป็นธรรมดาหรือไม่มีคุณค่าก็ยังได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ได้( พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 4 ) นอกจากหลักดังกล่าวข้างต้นแล้ว เมื่อพิจารณาเงื่อนไขของการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 6 ประกอบกับงานอันไม่มีลิขสิทธิ์ได้ตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ. ฉบับเดียวกันแล้วจะเห็นได้ว่า กฎหมายมิได้บัญญัติให้งานที่มิชอบด้วยกฎหมาย หรืองานที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือสวัสดิภาพของประชาชน เป็นงานไม่อาจมีลิขสิทธิ์ได้เอาไว้ด้วย ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายสิทธิบัตรอันเป็นกฎหมายว่าด้วย ทรัพย์สินทางปัญญาเช่นเดียวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ได้บัญญัติไว้แจ้งชัดว่าการประดิษฐ์และการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้( พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 9, 58 ) นอกจากนั้นคำว่า สร้างสรรค์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ก็ให้คำจำกัดความหมายถึง สร้างให้มีให้เป็นขึ้น หรือเนรมิตเท่านั้น มิได้มี ความหมายว่าจะต้องเป็นการสร้างในสิ่งที่ดีงามหรือที่มีประโยชน์ต่อสังคมด้วย จึงอาจแปล ความไปได้ว่างานที่ขัดต่อกฎหมาย หรืองานที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ รวบรวมโดย อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย 12 ประชาชนเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งเรืองนี้หากย้อนไปดูกฎหมายเดิมที่เกี่ยวกับการคุ้มครอง ลิขสิทธิ์เห็นได้ว่ามีบัญญัติไว้ชัดเจน เช่น พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่ง หนังสือ พ.ศ.2547 มาตรา 15 บัญญัติว่า หนังสือซึ่งมิบังควรจะออกขายโดยเหตุที่เป็นเรื่องหยาบ คาย เรื่องลดหลู่ดูถูกศาสนา หรือเรื่องยุยงให้เกิดจราจลนั้นจะให้มีกรรมสิทธิ์ไม่ได้ อนึ่ง หนังสือ เรื่องใดที่กล่าวคำเท็จเพื่อประสงค์จะหลอกลวงให้ประชาชนหลงเชื่อต่างๆก็ต้องห้ามมิให้มี กรรมสิทธิ์เหมือนกัน แม้กฎหมายดังกล่าวจะใช้คำว่า กรรมสิทธิ์ แต่ก็หมายถึง ลิขสิทธิ์ นั่นเอง และแม้กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่อมาเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครอง วรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 และพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันและ ไม่มีข้อบังคับดังกล่าว แต่การจะตีความว่า งานที่ขัดต่อกฎหมายให้การคุ้มครองเป็นเรื่องที่ไม่ ชอบด้วยเหตุผล ศาลฎีกาจึงตีความว่างานสร้างสรรค์ที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ลิขสิทธิ์ จะต้องเป็นงานสร้างสรรค์โดยชอบด้วยกฎหมายด้วย ประกอบกับศาลฎีกาคงเห็นว่า การตีความกฎหมายเช่นนี้ไม่น่าจะส่งผลเสียหายแต่อย่างใด ทั้งนี้ เพราะแม้จะถือไม่ได้การทำซ้ำ วีดีโอเทปเรื่องอาถรรพ์น้ำมันพรายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ม้วนวีดีโอเทปที่จำเลยทำซ้ำและมี ไว้ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 ได้ ส่วนงานบ่อนทำลายความมั่นคง ของชาติ งานลบหลู่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นงานที่ไม่ควรคุ้มครองอย่างงาน อันมีลิขสิทธิ์ ผู้สร้างงานดังกล่าวก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116, 118 ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี คำพิพากษาศาลฏีกาฉบับนี้มีข้อน่าสังเกตว่าวีดีโอเทปพิพาทมีบทแสดงการ ร่วมเพศระหว่างหญิงและชายบางตอนเท่านั้น มิได้มีภาพลามกทั้งเรื่อง จึงมีปัญหาน่าพิจารณา ว่าจะถือได้หรือไม่ว่า เฉพาะตอนที่มีภาพลามกเท่านั้นที่จะถือว่าเป็นงานอันไม่มีลิขสิทธิ์ ส่วน ภาพอื่นที่เป็นการดำเนินเรื่องตามปกติ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นงานสร้างสรรค์อันเข้าเงื่อนไขต่าง ๆ ของงานอันมีลิขสิทธิ์ และการตัดเฉพาะภาพลามกดังกล่าวออกไปก็คงไม่ทำให้วีดีโอเทป หรือภาพยนต์นั้นดูไม่รู้เรื่อง ถ้าเป็นเช่นนี้ภาพตอนที่เป็นภาพลามกน่าจะไม่ใช่สาระสำคัญของ วีดีโอเทปเรื่องนั้น ไม่น่าจะถึงกับทำให้งานสร้างวีดีโอเทปทั้งหมดเป็นงานอันไม่มีลิขสิทธิ์ หาก ถือได้เช่นนี้โจทก์ก็น่าจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์เรื่องอาถรรพ์น้ำมันพรายได้ การ กระทำของจำเลยจึงอาจเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และเป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 287 ด้วย อันเป็นความผิดกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90 แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่า ภาพยนตร์เรื่องนั้นผู้สร้างมีเจตนาจะสร้างขึ้นเป็นภาพยนตร์ ลามกโดยตรง ภาพลามกต่าง ๆ เป็นสาระสำคัญของเรื่อง เช่นนี้งานภาพยนตร์นั้นย่อมไม่อาจ มีลิขสิทธิ์ได้เรื่องเรื่อง ผู้เขียนหมายเหตุ ปริญญา ดีผดุง
|