จากที่นี่ครับ คนนี้ของจริงด้วย

บทความนี้ เป็นการนำบทความเก่ามาปัดฝุ่น เนื่องจากเหตุการณ์ อากาศยาน ฮท.๑ และ ฮท. ๖๐ ตกของกองทัพบกเมื่อ ๑๙ ก.ค. ๕๔ ที่ผ่านมา ซึ่งดูเหมือนจะจริงจัง แต่สุดท้ายเป็นไฟไฟมฟางอีกตามเคยกับระบบบการค้นหาช่วยชีวิตของไทยซึ่ง ดูเหมือนฝึกบ่อย แต่จริงเป็นเพียงการแสดงจัดฉากแสดงอากาศยานเท่านั้น เมื่อไรจะจริงจังกับระบบนี้ซะที
กล่าวนำ
จากเหตุการณ์ เครื่องบินเล็กของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งตกในพื้นที่เขาใหญ่ การค้นหาช่วยเหลืออากาศยานของ ประเทศไทย ยังไม่สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ นอกจากนนี้ยังไม่รวมเหตุการณ์ ที่สายการบินวัน ทูโก ประสบอุบัติเหตุ ที่สนามบินภูเก็ต ซึ่งภาพที่ปรากฏไม่เหมือนกับประสิทธิภาพ ภาพการสาธิต , ข้อความที่ประชาสัมพันธ์จากการฝึกซ้อมการค้นหาช่วยเหลือ SAREX Search and Rescue Exercise ที่มีการฝึกเป็นประจำทุกปี ในทุกปี การฝึกการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย เป็นการฝึกภายใต้ความรับผิดชอบ ของกรมขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม เพื่อปรับมาตรฐานการค้นหาและช่วยเหลือฯ เพื่อสนับสนุนยุทธ์ศาสตร์การ เป็นศูนย์กลางการบินนานาชาติของประเทศไทย โดยจะมีการหมุนเวียน การรับเป็นแกนกลางในการจัดงานระหว่าง , กองทัพบก, กองทัพอากาศ,กองทัพเรือ , กรมการขนส่งทางน้ำ ( กรมเจ้าท่าเดิม ) , กรมการขนส่งทางอากาศ( กรมการบินพานิชยเดิม ) , ซึ่งมักจะเน้นการสาธิต เพื่อให้ภาพเกิดความสวยงาม มากกว่าการฝึกหน่วย
แต่สภาพความเป็นจริง งานค้นหาช่วยเหลือ หรือที่เรียกว่า SAR นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของการบินค้นหาเท่านั้น การหาไม่เหมือนที่ทำการสาธิตวันเด็กหรืองานSAREXเท่านั้น แต่ ต้องเป็นการบูรณาการ ขีดความสามารถในการค้นหาทั้งมวล ของทุกส่วนงาน ตั้งแต่ ระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ จนถึง หน่วยกู้ภัย ที่อยู่บนพื้นดินที่อยู่ในบริเวณที่คาดว่าอากาศยานจะตก เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ในทุกพื้นที่และสภาพอากาศ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเครื่องตกขณะที่ สภาพอากาศไม่ดีนัก ไม่สามารถใช้อากาศยานในการค้นหาได้ ทางเดียวที่จะเข้าไปค้นหาได้คือ การใช้ชุดค้นหาที่เดินเท้า ซึ่งหลายปีของการฝึกที่ผ่านมา ไม่เคยมีการฝึกอย่างจริงจังในภาพรวมในเรื่องการค้นหาช่วยเหลือ , ระบบบัญชาการเหตุการณ์ที่ควรจะสมบูรณ์พร้อมในการที่จะให้ข้อมูลประสานงาน , แจ้งเตือนหน่วย , นำข้อตกลงที่ได้ประชุมสัมนามาเชิงปฏิบัติการมาใช้ในทางปฏิบัติจริง และผลที่ออกมากลับไม่เป็นเหมือนที่ฝึกสาธิตกันทุกปี หลายปีที่ผ่านมา การฝึก SAREX เป็นการฝึกซ้อมเชิงสาธิต มีการจัดลำดับการเข้าออกของแต่ละส่วน คล้ายกับ การสร้างฉากภาพยนต์ ทำให้ และมุ่งเน้นการค้นหาในภาคอากาศ เท่านั้น โดยไม่ได้มีการฝึก ในขั้นตอนของการค้นหาภาคพื้นดิน หรือ การจัดตั้ง ที่บัญชาการ ณ พื้นที่เกิดเหตุ ซึ่งในการฝึก ภาพที่สวยหรู มักจะสมมติเหตุการณ์ว่าเกิดขึ้นใกล้สนามบิน และ ท้ายที่สุดได้ภาพที่ดูอลังการณ์ แต่ไร้ซึ่ง ผลผลิตที่ควรจะได้จากการฝึก ซึ่งการค้นหาช่วยเหลือยังคงต้องใช้กำลังทุกส่วนมิใช่เพียงแต่ การค้นหาทางอากาศอย่างที่คนในบุคคลกร วงการการบินโดยทั่วไปเข้าใจ
จากหลายเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ ที่ เฮลิคอปเตอร์ ผู้บัญชาการกองกำลังผาเมือง ตก ในพื้นที่ป่าภูเขาในภาคเหนือ , เหตุการณ์ที่ ขบวนฮ.ติดตาม ขบวน ฮ.พระที่นั่ง ตก ในพื้นที่ อ.สุคิรินทร์ จว.นราธิวาส จุดอ่อนของการค้นหาช่วยเหลือ หลายจุดยังคงไม่ได้รับการปรับปรุง
บท ความที่กล่าวถึงในด้านล่างนี้เป็น แนวทางขั้นตอนการปฏิบัติ การทั่วไปของการค้นหาช่วยชีวิต โดยจะไม่กล่าวถึงในรายละเอียดการบินค้นหาทางอากาศ ซึ่งเนื่องจากมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนอยู่แล้ว โดยหน่วยงานที่เป็น ศูนย์ประสานการค้นหาควรเข้าใจหลักการค้นหาช่วยเหลือ ไม่เพียงแต่ภาคอากาศเท่านั้น แต่เพื่อให้เห็นภาพรวมให้เกิดความเข้าใจในการเตรียมการในยามปกติ ซึ่งต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประสาน ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในการปฏิบัติการค้นหาช่วยเหลือ , การนำเอาหน่วยงานหลายหน่วยมาทำงานร่วมกันในสภาวะวิกฤติ , การขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการค้นหาช่วยเหลือที่เต็มรูปแบบ มิใช่จากการดู บรรยายสรุป ๑- ๒ หน้า หรือ การอ่านแต่ตำราโดยขาดความสนใจในการปฏิบัติ และการพัฒนา ขีดความสามารถในภาพรวม , ฯลฯ ผู้เขียน หวังว่าบทความนี้คงจะช่วยเพิ่มความเข้าใจในเรื่องของการค้นหาช่วยเหลือใน ภาพรวมและนำไปปรับปรุงหน่วยงานองค์กร หรือ บุคคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง
Search and Rescue (การค้นหาช่วยเหลือ, การค้นหากู้ภัย ) หมายถึง การช่วยผู้ที่ประสบภัยให้รอดชีวิตจากภัยพิบัติ,อุบัติภัยในระหว่างเกิดภัย หรือหลังภัยเกิดขึ้นแล้วงานการค้นหาช่วยเหลือเป็นงานที่ต้องการ ความตั้งใจ ทักษะการทำงาน และทรัพยากร มากในการทำงาน ขั้นตอนที่ จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นขั้นตอนสากลของการค้นหาช่วยเหลือ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับการช่วยเหลือ,กู้ภัยได้ทุกรูปแบบ
ขั้นตอน การช่วยเหลือหรือการกู้ภัย
1.การรับแจ้งและการรายงาน (Report)
ขั้นตอนนี้ หน่วยจะได้รับแจ้งเหตุจาก ผู้ประสบภัยหรือจากหน่วยงานอื่นเพื่อให้หน่วยช่วยชีวิต( กู้ภัย ) เข้าช่วยชีวิตในพื้นที่ที่กำหนด โดย ในส่วน ผู้รับแจ้ง ต้องรับทราบข้อมูลที่จำเป็นในการช่วยชีวิตขั้นต้น และ กระจายข่าวส่งข้อมูลที่จำเป็นให้หน่วยช่วยเหลือที่ ใกล้ที่สุดในพื้นที่เกิดเหตุทราบและเริ่มดำเนินการ
2.การวางแผนขั้นต้น (Planning)
ขั้น ตอนนี้เป็นการกำหนดวิธีการปฏิบัติขั้นต้นตั้งแต่การ เข้าพื้นที่ การค้นหา การเข้าถึง การปฐมพยาบาลและการส่งผู้ประสบภัยไปยังพื้นที่รองรับ โดยทั่วไปหน่วยจะมี แผนล่วงหน้า ในแต่ละสถานการณ์ และจะการเป็นการปรับแผนที่เคยวางไว้ ( ถ้ามี ) ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งหากปฏิบัติบ่อยๆจะกลายเป็นซึ่งที่ทหารเรียกว่า รปจ. หรือ ระเบียบปฏิบัติประจำ จากการที่ปฏิบัติซ้ำจนไม่รู้สึกว่ามีการวางแผนเพราะมีการปฏิบัติจนสามารถจด จำขั้นตอน ทราบปัญหาที่จะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า แล้ว และขั้นนี้นี่เองที่ หน่วยกู้ภัยบนท้องถนน จนทำให้เมื่อต้องไปทำการกู้ภัยนอกเหนือจาก สถานการณ์ที่เคยพบจะละเลยขั้นตอนนี้และเกิดปัญหาตามมาอย่างมาก ตัวอย่าง การวางแผนการค้นหา แบบเร่งด่วนที่พบกันบ่อย คือ การค้นหาคนที่ติดในอาคารขณะเพลิงไหม้ ข้อจำกัดของข้อมูลแผนผัง อาคารในประเทศไทย เช่น การดัดแปลงอาคาร , แผนผังอยู่ในอาคารที่มีเพลิงไหม้, หน่วยดับเพลิงประจำท้องที่ไม่เคยเก็บข้อมูลแผนผังอาคารในพื้นที่รับผิดชอบตน เองไว้ การวางแผนในบ้านเราเป็นการวางแผนด้วยข้อมูลที่จำกัด ใช้การแก้ปัญหาเฉพาะเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นการวางแผนในใจ เช่นการกำหนดจะขึ้นทางไหน ,เข้าทางไหน ค้นที่ใดก่อน จากไหนไปไหน และ การติดต่อประสาน ใครจะรับรายงานข้อมูล , ใครจะเป็นคนรับช่วงต่อเมื่อพบผู้ประสบภัย ,ใครจะไปช่วยเมื่อเกิดอุบัติภัยกับผู้ช่วยเหลือ , และช่องทางออกเมื่อเกิดเหตุระเบิดหรือเพลิงควบคุมไม่ได้ ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลขั้นต้นที่ต้องเตรียมไว้ ซึ่ง อาจจะต่างจากการค้นหาในสถานการณ์เครื่องบินตกหรือ ผู้ประสบภัยโดยเฉพาะเรื่องปัจจัยเวลา
3. การค้นหาและการเข้าสู่พื้นที่ (locate)
ขั้น การค้นหา เป็นการ เดินทางเข้าหา ตามแผน ที่ได้วางไว้ในขั้นที่ ๒ โดยสามารถค้นหาได้หลายวิธี ตั้งแต่การใช้ระบบอิเล็กโทรนิคส์ เครื่องมือเทคโนโลยีสูง จนถึงการหาด้วยสายตา ทั้งนี้หากไม่มีการวางแผนที่ดี จะทำให้การค้นหาเกิดความซ้ำซ้อน ไม่มีประสิทธิภาพ
การเข้าสู่พื้นที่ สามารถกระทำได้หลายทาง ทั้งทางบก ,ทางน้ำ ,ทางอากาศ หรือ การใช้การผสมผสานของเครื่องมือ เช่น การใช้ เฮลิคอปเตอร์ ส่งคนลงเดินค้นหา ,หรือ การใช้ ฮ.ขนเรือยางเพื่อ ส่งลงในอ่างเก็บน้ำเพื่อในการค้นหา ทั้งนี้ ในการค้นหาทางบกสิ่งที่มักจะละเลยคือการใช้แผนที่ มาตราส่วนที่ใหญ่พอที่จะเห็นรายละเอียดในการเดินเท้า ซึ่ง ทางทหารจะใช้มาตรส่วน ๑ ต่อ ๕๐,๐๐๐ ซึ่งควรประกอบกับการใช้เข็มทิศ และเครื่องหาพิกัดด้วยดาวเทียม
4. การเข้าถึง (Access)
เป็น การใช้ ทรัพยากร , เครื่องมือ , ทักษะความชำนาญ เพื่อที่จะเข้าถึงผู้ประสบภัยอย่างปลอดภัยทั้งนี้รวมทั้ง การนำชุดช่วยเหลือกู้ภัยออกจากพื้นที่อย่างปลอดภัยดัวย ได้แก่ การเจาะเข้าที่เกิดเหตุ และ การช่วยเหลือ ซึ่ง ภาพที่เห็นบ่อย คือ การใช้เครื่องตัดถ่าง ตัด,ถ่าง,งัดแงะซากรถ,ซากอาคาร นำผู้บาดเจ็บออกมา( ปัจจุบัน ในกองทัพยังไม่มีประจำการโดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ นำพาได้ โดยบุคคล ) หรือ การลงจากหน้าผาเพื่อ ลงไปช่วยผู้ประสบภัยที่ติดในรถหรือ อากาศยานที่ตกลงในพื้นที่ป่าภูเขา ซึ่งระบบการเข้าถึง นี้ ในประเทศไทย จะเน้นเรื่องอุบัติภัยจากรถ เป็นส่วนมาก ทำให้ขาดการพัฒนาในเรื่อง การใช้เครื่องมือลงและขึ้นจากที่สูง ,การช่วยเหลือทางน้ำ ที่ไม่ ใช่อุปกรณ์น้ำวงจรเปิด SCUBA
5. การช่วยเหลือปฐมพยาบาลเตรียมการเคลื่อนย้าย (Stabilize)
เป็น การให้การดูแลด้านการแพทย์ ณ พื้นที่เกิดเหตุ เพื่อที่จะ นำผู้ประสบภัย ออก โดยไม่มีการบาดเจ็บเพิ่มเติม และ ไม่มีอาการที่รุนแรงขึ้น จากที่เป็นอยู่ ในส่วนงานด้านนี้ นั้น ในพื้นที่ ประสบภัยที่สามารถเข้าถึงสะดวกด้วยรถยนต์ ก็ ไม่เป็นปัญหานัก แต่ถ้าเป็นพื้นที่ ที่ถูกตัดขาดนั้น การปฏิบัติดังกล่าว ยังไม่มีประสิทธิภาพพอ เนื่องจาก งานด้านการพยาบาลสนาม Pre-hospital Trauma Life Support ( การรักษาพยาบาล ที่ อาจจะมากกว่าการปฐมพยาบาล ทั่วไป โดยที่ไม่ใช้นายแพทย์ เนื่องจาก ความห่างไกลของระยะทาง เวลาที่ใช้ในการเดินทาง ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ต้องใช้ทักษะที่สูงขึ้นในการกู้ชีพ เช่น, การให้น้ำเกลือ , การลดความกดดันในช่องอก Decompression and Drainage of chest , การทำช่องหายใจฉุกเฉิน Emergency Airway Procedures ) ซึ่ง นายแพทย์บางท่านว่า” มันอันตราย หากทำไม่ถูกต้องและควรให้นายแพทย์ทำดีกว่า” ซึ่งในสถานการณ์ภัยพิบัติส่วนมากหมอไม่สามารถไปถึงสถานที่เหล่านั้นในเวลา ที่ต้องการได้ แต่ปัจจุบัน เมื่อ เดือน มิ.ย. ๕๔ ที่ผ่านมา กรมแพทย์ทหารบกได้มีการสัมมนาทบทวน การปรับปรุงขีดความสามารถนายสิบพยาบาล ของ กองทัพบก ให้มีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น พี่น้องหมอทหาร ที่อ่านบทความนี้กลับไปทบทวนตำรับตำราว่าด้วยการแพทย์ทางุทธวิธีสมัยใหม่ หน่อยครับเพราะหลายท่านอยู่ใน รพ.จนไม่รู้ว่า การแพทย์สนามไปถึงไหนถึงไหนกันแล้ว
6.การนำส่งพื้นที่รองรับ หรือพื้นที่ รักษาพยาบาล (Transportation)
เป็น การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจากพื้นที่ที่อันตราย ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย เพื่อการรักษาขั้นสูงต่อไป เช่น การนำออกจากพื้นที่ป่าภูเขามายัง สนาม ฮ.ที่ใกล้ที่สุดเพื่อส่งต่อไปยัง รพ.มีขีดความสามารถเพียงพอในการรักษา เช่น การเคลื่อนย้าย ไปยังพื้นที่ รองรับ (สถานพยาบาล), การนำมายังจุดประสานงานบนถนนใหญ่ที่รถเข้าถึงก่อนนำส่ง รพ.
ลำดับขั้นการปฏิบัติการ
๑.การรายงาน/ การวางแผน /จัดตั้งระบบการสั่งการ การควบคุม การประสานงาน
( Report/Planning/command control coordination)
ขั้น ตอนนี้ศูนย์ประสานงานการค้นหาฯหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องรวบรวมข้อมูล ที่มีอยู่เตรียมการ วางแผนขั้นต้น และแจ้งเตือนหน่วยที่อยู่ในระบบการค้นหาฯซึ่ง ไม่เพียงแต่การแจ้งหน่วยในระดับเดียว กัน การแจ้งหน่วย ในพื้นที่ที่เป็น หน่วยย่อย ต้องกระทำทันทีเพื่อให้ทุกส่วนตื่นตัวและเตรียมการ และกระจายข่าวสารให้ประชาชนในพื้นที่นั้นรับทราบ เพื่อเป็นประโยชน์ในการแจ้งเบาะแสอย่างเร่งด่วน
ก. ข้อมูลที่ต้องเตรียม
๑.เป้าหมาย ( ข้อมูลบุคคล ที่ต้องช่วยเหลือ )
• สถานที่ พิกัดล่าสุด ที่ใด เวลาเท่าใด ความสูงเท่าใด(อากาศยาน )
• พิกัดที่คาดว่าอากาศยานจะตก ( ควรกำหนดด้วยระบบพิกัดUTM และ MGRS ) รวมทั้งอธิบายวิธีการคิด ว่าใช้สมมติฐาน หรือข้อมูลอะไรในการกำหนดจุดเช่น ( เครื่องบินมี เครื่องส่งสัญญาณฉุกเฉิน หรือ ใช้การคำนวนจากความสูงและความเร็วอากาศยาน ความเร็วลม ,ทิศทางล่าสุด ฯลฯ )
• ติดต่อกับฝ่ายเราครั้งสุดท้ายเมื่อใดด้วยอะไรถ้าเป็นวิทยุใช้ความถี่อะไร,โทรฯหมายเลขอะไร
• ชื่อ รูปร่าง ลักษณะทางกายภาพ ความสูง กลุ่มเลือด เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ภาพเอ๊กเรย์ฟัน
• สภาพร่างกายล่าสุด เช่นเดินได้หรือไม่ /บาดเจ็บหรือไม่/บาดเจ็บบริเวณใด/อาการล่าสุด
• อุปกรณ์ ประจำกาย อุปกรณ์ยังชีพที่ติดกับอากาศยานมีหรือไม่/ถ้ามีคาดว่าอยู่ได้นานเท่าใด
๒.ข้อมูลพื้นที่ที่อากาศยานตก
• ลักษณะพื้นที่ แผนที่ ๑ต่อ ๕๐๐๐๐ หรือ แผนที่ที่ใช้เดินทางพื้นดิน ข้อมูล พื้นที่เหวที่สูงชัน , ทางน้ำ แหล่งน้ำ , ลักษณะพืชพรรณไม้ ,เส้นทางในพื้นที่ ,พื้นที่สิ่งปลูกสร้าง หมู่บ้าน
• แผนที่ทางอากาศ(ควรมีอุปกรณ์มารค์แผนเช่น ปากกาเคมี สีที่เพื่อเตรียมการชี้แจง )
• สภาพอากาศ พยากรณ์อากาศในพื้นที่ค้นหา
• อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่เช่น สัตว์ป่า , ภัยพิบัติ น้ำป่า,ดินถล่ม, ไฟป่า กับระเบิดทุนระเบิด, กับดักสัตว์
ข.เครื่องมือ
o เครื่องมือการวางแผน
- แผนที่ , แผ่นอาซิเตทคลุมแผนที่ , อุปกรณ์เครื่องเขียน มารค์ แผ่นอาซิเตทคลุมแผนที่
- เครื่องให้แสงสว่าง, เครื่องปั่นไฟ , เครื่องฉายภาพ, คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
o เครื่องมือสื่อสาร
o สมุดรายการติดต่อประสานงาน หน่วยในพื้นที่
o ที่พักเคลื่อนที่,เครื่องนอนส่วนบุคคล,อาหารสำเร็จรูปที่พออยู่ได้
ปัจจุบัน เทคโนโลยีบางอย่างสามารถช่วยลดความยุ่งยากในการเตรียมอุปกรณ์ เช่น ระบบแผนที่ดิจิตอล เครื่องพิมพ์ โปรเจคเตอร์ ทำให้การตั้ง ศูนย์ประสานงานหรือ บก.เหตุการณ์ มีความรวดเร็วมากขึ้น แต่พึงระลึกเสมอว่าอะไรที่ใช้ไฟฟ้า ความไม่แน่นนอนเกิดขึ้นเสมอ แผนที่กระดาษธรรมดา กับแผนอาซิเตท และปากกาเขียน เป็นความจำเป็นพื้นฐานในวางแผนการค้นหา ความสวยงานอลังการของ ที่บัญชาการเหตุการณ์ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ แต่หากเป็น สถานที่ที่สามารถให้ข้อมูลเพียงพอ ,สามารถแก้ปัญหาประสานงานระดมทรัพยากรทั้งมวลของชาติโดยไม่ติดขัด คือ ความมุ่งหมายของสูงสุด ของที่บัญชาการเหตุการณ์ ซึ่งแน่นอนว่า ไม่มีการทำงานครั้งใดที่ไม่พบอุปสรรค นั่นคือความท้าทายของทีมงานที่จะต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ปัญหาบุคคลกรของแต่ละองค์กรในเรื่องวิธีการทำงาน, ความไม่เข้าใจของผู้มิอำนาจในการตัดสินใจ,งบประมาณที่ต้องนำมาใช้, ทรัพยากรไม่เพียงพอ , ปัญหาสภาพแวดล้อมไม่เป็นใจ , ข่าวสารที่เผยแพร่ออกไปทางสื่อมวลชนถูกบิดเบือน ฯลฯ
ปัจจัยความอยู่ รอดของ ผู้ประสบภัยจะขึ้นอยู่กับ ความรวดเร็วรอบคอบของ ผู้ที่จะมาตั้ง ศูนย์ประสานงานการค้นหาส่วนหน้า ( ที่บัญชาการเหตุการณ์ ) ว่าจะสามารถเตรียมข้อมูลส่งให้ ส่วนปฏิบัติการค้าหาช่วยเหลือ ได้สมบูรณ์เท่าใด , การวางแผนการค้นหา ,การสนับสนุนการค้นหา รวมทั้งการประชาสัมพันธ์การค้นหาประสานงานหาข้อมูล ส่งผ่านข้อมูลที่จำเป็นให้หน่วยในพื้นที่ หรือ หน่วยที่จะค้นหาที่อาจจะทยอยเข้ามา ช่วยการค้นหา ในกรณึศูนย์ประสานงานการค้นหาหากไม่มีเครื่องมือในข้อ ข. ควรประสาน ขอรับการสนับสนุนเครื่องมือหน่วยในพื้นที่ตั้งแต่ เริ่มทราบว่าจะต้องมีการค้นหา ไม่ใช่เมื่อถึง ที่ตั้งบก.เหตุการณ์แล้ว เพิ่งไปขอ พึงระลึกไว้ว่าทุกวินาทีที่ผ่านไป โอกาสรอดของคนที่รอความช่วยเหลือจะลดลงทุกวินาที ( รายละเอียดการวางแผนและการตรวจดูใน ผนวก รายการการตรวจสอบ การค้นหาช่วยเหลือภาคพื้นดิน )
๒.การค้นหา (Locate) ในการค้นหา สามารถค้นหาได้ทั้งทางอากาศและทางพื้นดิน ในที่นี้จะมุ่งเน้นเรื่องการค้นหาทางพื้นดิน
๑.การค้นหาด้วยระบบอิเล็กโทรนิคส์
ได้แก่ การใช้ข้อมูลจาก เรดาห์ หอความคุมจราจรทางอากาศ , เครื่องหาทิศทาง , อุปกรณ์ส่งสัญญาณนำทิศ , ซึ่งทั้งนี้ อุปกรณ์เทคโนโลยีสูงไม่ได้รับความนิยมในประเทศไทยเนื่องจาก มีราคาแพง และ ขาดความตระหนักในเรื่องความปลอดภัย น้อยในทุกระดับ ค่าชีวิตของทหารไทยราคาถูก เป็นปกติ
๒.การกำหนดพื้นที่ค้นหา โดยปกติจะเป็นการค้นหาร่วมระหว่างการค้นหาทางพื้นดินกับการค้นหาทางอากาศ โดยมีวิธีการใกล้เคียงกับการค้นหาทางน้ำ
๒.๑.การค้นหาด้วยระบบพิกัด
จะ ใช้เมื่อมีข้อมูลที่ชัดเจน และเป็นการค้นหาที่นิยมที่สุด และ เป็นการสั่งการวางแผนที่ง่ายที่สุด มักจะใช้เป็น การวางแผนขั้นต้น เพื่อให้หน่วยภาคพื้นดินไปวางแผนประกอบภูมิประเทศจริง แต่จะลำบากกับผู้ค้นหามากที่สุดหากกำหนดพิกัดเพียงอย่างเดียวให้กับผู้ค้นหา ทางพื้นดินโดยเฉพาะหากพิกัดคลาดเคลื่อน หน่วยกู้ภัยในประเทศ ไทยมักจะจะไม่มี แผนที่เข็มทิศ ในการเดินทาง ซึ่ง ถึงแม้รู้พิกัด และมีเครื่องหาพิกัดด้วยดาวเทียมที่ไม่มีแผนที่แสดงเส้นชั้นความสูง แต่ในพื้นที่ป่าภูเขาก็ไม่สามารถเดินทางตามมุม หรือเดินทางเป็นเส้นตรงได้ต้องใช้แผนที่ประกอบ บางท่านอาจจะบอกว่า พรานป่าหรือชาวบ้านชำนาญทาง แต่จะมีพรานป่าหรือชาวบ้านซักกี่คนที่เข้าใจระบบพิกัดบนแผนที่
๒.๒ การกำหนดจากเส้นทาง (Track line Method ) มักจะใช้กับเรือ หรือ อากาศยาน ที่รู้จุดต้นทาง และ จุดปลายทางหรือ จุดล่าสุดที่ทราบพิกัด โดยจะกำหนดเป็น จุด ๒ จุด ตามแนวเส้นทาง และกำหนดความกว้าง จากเส้นที่ต่อจุดสองจุดนั้นวิธีการนี้เช่นเดียวกับวิธีการกำหนดพิกัด จะเป็นเพียงการกำหนดกรอบการค้นหาขั้นต้น เหมาะกับการค้นหาด้วยอากาศยาน แต่ก็สามารถนำเป็นเป็นข้อมูลขั้นต้นในการวางแผนค้นหาทางพื้นดิน ประกอบข้อมูลภูมิประเทศ
๒.๔ การใช้จุดศูนย์กลาง (Center Point Method) จะใช้กับพื้นที่ที่สามารถการกำหนดจุดศูนย์กลางได้ เป็นพิกัด และ ส่วนบัญชาการ หรือส่วนประสานการค้นหาจะกำหนด รัศมีการค้นออกจากศูนย์กลาง
ภาคพื้น ดิน ซึ่งควรจะใช้วิธีการกำหนดขอบเขตในการค้นหาด้วย การใช้ลักษณะที่สังเกตุได้ในภูมิประเทศ ซึ่งจะต่างจากการค้นหาที่ใช้อากาศยาน ที่กำหนดด้วย ระบบกริด หรือ พิกัด
๒.๒.การค้นหาด้วยระบบการกำหนดขอบเขต( Boundary Method )
ในการค้นหาทางน้ำหรือ ทางอากาศ มักจะกำหนด ขอบเขตเป็นสี่เหลี่ยมโดยใช้เส้นรุ้งสองเส้น และเส้นแวงสองเส้นที่ขนานกันกำหนด
ใน ส่วนหน่วยค้นหาทางพื้นดินมักจะการกำหนดขอบเขตการค้นหา ด้วยภูมิประเทศที่เป็นแนวหรือสังเกตได้ชัด ได้แก่ ถนน , แนวลำน้ำ ,เทือกเขา ตัวอย่าง เช่น เป้าหมายอยู่ในเขตพื้นที่ดังนี้ ทางใต้ไม่เกินทางหลวงหมายเลข ๓๓ ทางตะวันออกไม่เกิน เขต ของอ่างเก็บน้ำซับเหล็ก ทางตะวันออกไม่เกิน เนิน ๓๖๑ และทางเหนือ ไม่เกินเทือกเขา เนิน ๗๖๕
หลังจากที่มีการพบ ผู้ประสบภัย การรายงานกลับมายัง บก.หรือ ส่วนที่จะ รองรับผู้ประสบภัยที่อาจจะบาดเจ็บ ต้องการการนำส่ง โรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน หากไม่มีการวางแผนการสื่อสารที่ดีพอ ในบางสถานการณ์ ชุดค้นหาอาจจะไม่สามารถติดต่อด้วยวิทยุสื่อสาร ,โทรศัพท์ได้ การใช้ทัศนะสัญญาณสามารถช่วยได้ดี เช่น การใช้ พลุสัญญาณ , ควันสี , เสียงนกหวีด , แผ่นผ้าสัญญาณ ประกอบกัน แต่ต้องมีการวางแผนประสานเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนออกปฏิบัติการค้นหา
๓. การเข้าถึงผู้ประสพภัย (Access) จะ เริ่มต้นเมื่อค้นพบร่องรอย ชิ้นส่วนหรือสิ่งบอกเหตุ ที่ชัดเจน ว่า เป็นจุดตกของอากาศยาน โดยจะเป็นการ เข้าถึง ตัวผู้ประสพภัยเป็นลำดับแรกทันที่ที่พบ หาก เป้าหมายที่ค้นหา อยู่ในพื้นที่ที่ยากในการเข้าถึง เช่น อยุ่ในที่ต่ำ เหว ซอกเขา , บนหน้าผาสูง ,ค้างต้นไม้ขนาดใหญ่ ฯลฯ ชุดค้นหาจะต้อง วางแผนการเข้าถึงผู้ประสบภัย โดยต้องใช้หลัก ๓ ประการพื้นฐานการกู้ภัย ๑. ผู้ช่วยเหลือต้องปลอดภัย ๒. ทีมช่วยเหลือกู้ภัย ต้องปลอดภัย และประการสุดท้ายผู้ประสบภัยต้องปลอดภัย
ในการเข้าถึงอากาศยาน ที่ประสบภัย มีหลายสถานการณ์ที่เป็นไปได้เช่น
๑.อากาศยาน โดยสาร ตก และมีเพลิงไหม้ มีผู้ติดอยู่ภายใน จนท.ต้องใช้ชุดผจญเพลิง พร้อมเครื่องช่วยหายใจ ทำตามขั้นตอนการดับเพลิงของอากาศยาน
๒.อากาศยานตก ในพื้นที่ป่าภูเขาลงไปในเหวลึก ก็ต้องใน ระบบเชือกกู้ภัย ในการนำชุดช่วยเหลืองลงไป พร้อมกับ นำ เครื่องตัดถ่างขนาดเล็กที่สามรรถนำพาไปได้ด้วยคน, อุปกรณ์การแพทย์ฉุกเฉินลงไปเพื่อ เตรียมปฏิบัติในขั้นการปฐมพยาบาลและดำรงสภาพผู้ประสบภัย Stabilize