ความเป็นมาก่อนการจัดตั้งหน่่วยทำลายใต้น้ำ
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองกำลังทางเรือของทั้งฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะต่างก็ได้ส่งหน่วยรบพิเศษซึ่งเป็น หน่วยรบขนาดเล็ก ที่ได้รับการฝึกให้มีขีดความสามารถเหนือทหารทั่วไป เข้าปฏิบัติการเพื่อทำลายกองเรือ สิ่งก่อสร้างและ สถานที่ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้าม ทำการก่อวินาศกรรมและปฏิบัติการลับอื่น ๆซึ่งผลการปฏิบัติของแต่ ละฝ่ายก็ได้สร้างความเสียหายให้กับฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมากการปฏิบัติของหน่วยรบพิเศษนี้ได้กระทำตลอดเวลาและแม้ว่า สงครามโลก ครั้งนั้นได้สิ้นสุดลงแล้วภารกิจของหน่วยรบพิเศษเหล่านี้ก็ไม่ได้จบสิ้นตามลงไปด้วยแต่กลับได้รับการพัฒนาทั้ง ด้านการฝึก องค์บุคคลนักรบพิเศษ การวิจัยพัฒนายุทโธปกรณ์และยุทธวิธีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน และเพื่อให้การปฏิบัติภารกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น อันจะมีผลทำให้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆีความง่ายและบรรลุ วัตถุประสงค์ตลอดจนองค์บุคคลมีความปลอดภัยสูง
จากความสำเร็จของหน่วยรบพิเศษดังกล่าว กระทรวงกลาโหมจึงมีความคิดที่จะจัดตั้งหน่วยทำลายใต้ำน้ำ (underwater demolition team , UDT ) ขึ้นในวันที่ ๒๓และ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้เชิญผู้แทนเหล่าทัพ และกรม ตำรวจไปประชุมร่วมกับหน้าที่กองทัพเรือสหรัฐ ประจำหน่วย MAAG (MILITARY ASSISTANCE ADVISORY GROUP ) ต่อมาคือ JUSMAG/TH เรืองการจัดตั้งหน่วยฝึกว่ายน้ำ ซึ่งหมายความถึงการฝึกของหน่วย UDT ( ยูดีที ) ด้วย การ ประชุมคราวนั้น ที่ประชุมมีมติให้กองทัพเรือเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดตั้งหน่วยฝึกนี้ โดยฝ่ายสหรัฐฯ ะสนับสนุนการ ฝึกโดยจัดครูฝึกและอุปกรณ์การฝึกให้เพียงพอกับการฝึก
ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๕กองทัพเรือได้อนุมัติให้ดำเนินการฝึกอบรมการทำลายใต้น้ำตามแนวความคิดข้างต้น ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิบัติเริ่มแรกในการจัดตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำของกองทัพเรือต่อมากองเรือยุทธการได้ประกาศรับสมัคร กำลังพลเข้าฝึกอบรมเป็นมนุษย์กบ ( Frogman ) โดยกำหนดจำนวนนายทหารสัญญาบัตรชั้นยศไม่เกินเรือโทจำนวน ๓ นาย และนายทหารประทวน ๔ นายกำหนดทดสอบร่างกายและตรวจสุขภาพในทำนองเดียวกับการคัดเลือกบุคคลเป็นนักเรือ ดำน้ำ
การฝึกมนุษย์กบในครั้งนั้น มีหน่วย ซี ซัพพลาย (SEA SUPPLY) ซึ่งเป็นหน่วยงานของประเทศสหรัฐ ฯที่ให้ความ ช่วยเหลือแก่กรมตำรวจ เป็นผู้ให้การสนับสนุนการฝึกและให้ถือว่าเป็นความลับที่สุด
ในการเตรียมการฝึก ทางหน่วยซี ซัพพลายได้ให้คณะผู้รับการฝึกชุดแรกไปรับการฝึกรบพิเศษที่ค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี (ต่อมาค่ายฝึกนี้ได้โอนไปขึ้นกับกองทัพบก) เพื่อให้มีความรู้ในการรบพิเศษเป็นพื้นฐานไว้ ก่อนที่จะไปฝึกใน ต่างประเทศ โดยไปรายงานตัวเข้ารับการฝึกเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๕ การฝึกรบพิเศษครั้งนี้เป็นรุ่นที่ ๑๑ ผู้รับการ ฝึกมีทั้งทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ ให้เวลา ๕ สัปดาห์ ต่อด้วยการฝึกกระโดดร่มอีก ๒ สัปดาห์ สำเร็จ การฝึกเมื่อ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๖ นับว่าเป็นกำลังพลกองทัพเรือรุ่นแรกที่ผ่านการฝึกหลักสูตรกระโดดร่ม
ต่อมาในต้นปี พ.ศ.๒๔๙๖ หน่วยซีซัพพลายได้เสนอให้การสนับสนุนการฝึกด้านการทำลายใต้น้ำให้กับกำลังพลของ กองทัพเรือและกรมตำรวจ ซึ่งผ่านการฝึกการโดดร่มมาแล้ว การสนับสนุนครั้งนี้ทางหน่วยซีซัพพลายขอให้กองทัพเรือและ กรมตำรวจปกปิดเป็นความลับด้วยเหตุผลบางประการ ซึ่งกองทัพเรือได้ให้ความเห็นชอบและมีคำสั่งให้ข้าราชการสังกัด กองทัพเรือจำนวน ๗ นาย ประกอบด้วยนายทหาร ๓ นายและพันจ่า ๔ นาย รวมกับข้าราชการสังกัดกรมตำรวจจำนวน ๗ นายเป็น ๑๔ นายไปเข้าร่วมการฝึกดังกล่าว โดยออกเดินทางในคืนวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๖โดยเครื่องบินC–47จาก สนามบินดอนเมืองไปยังเกาะไซปันหมู่เกาะมาเรียน่าในบริเวณสถานที่ฝึกจะไม่มีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่เลยฝึกทุกวันตั้ง แต่ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ระยะเวลาฝึกอบรมหลักสูตรนี้ประมาณ ๑๑ สัปดาห์คณะผู้รับการฝึกทั้งหมดสำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตร นักทำลายใต้น้ำชั้นต้นเป็นที่เรียบร้อยและเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๖โดยเครื่องบินC – 47
เมื่อกำลังพลกองทัพเรือได้รับการฝึกวิชาการทำลายใต้น้ำในต่างประเทศ เดินทางกลับสู่ประเทศไทยแล้วกองเรือ ยุทธการได้มีความคิดที่จะดำเนินการฝึกอบรมความรู้นี้ขึ้นภายในประเทศจึงได้เสนอกองทัพเรือขอจัดตั้งหน่วยฝึกและอบรม หน่วยทำลายใต้น้ำในเวลาต่อมา ซึ่งหลังจากกองทัพเรือได้พิจารณาข้อเสนอของกองเรือยุทธการแล้วจึงได้อนุมัติจัดตั้งหน่วยฝึก และอบรมหน่วยทำลายใต้น้ำเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๖ โดยให้ เรือโท วิสนุ ปราบศากุน (ยศขณะนั้น)เป็นผู้บังคับ หน่วยฝึก มีทหารสหรัฐ ฯ และผู้ที่ผ่านการฝึกในต่างประเทศมาแล้วเป็นครูฝึกดำเนินการฝึกในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยกองทัพเรือกำหนดให้กองเรือยุทธการทำการฝึกให้แก่ข้าราชการกองทัพเรือและเหล่าทัพอื่นรวมทั้งกรมตำรวจด้วย แต่ผู้เข้ารับการฝึกมีเพียงข้าราชการกองทัพเรือเท่านั้น โดยสมัครเข้ารับการฝึกจำนวน ๖๒ นาย มีผู้สามารถผ่านการตรวจสุขภาพ และตรวจสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ทั้งด้านความประพฤติ ความไว้วางใจในการร่วมความลับ ความมานะอดทนในการปฏิบัติงาน ได้รับการคัดเลือกเข้าฝึกอบรมรุ่นที่ ๑ จำนวน ๑๔ นายเป็นนายทหารสัญญาบัตร ๖ นาย พันจ่า ๔ นาย และจ่า ๔ นาย
การฝึกครั้งนั้น ได้กำหนดความมุ่งหมายให้ผู้รับการฝึกได้รู้วิธีการทำลายใต้น้ำ UNDERWATER DEMOLITION ชั้นต้น ระยะเวลาในการฝึกประมาณ ๒ เดือน โดยเริ่มการฝึกเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๗ และเสร็จสิ้นการฝึกเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๗ มีผู้สำเร็จการฝึก ๑๔ คน
ในการฝึกอบรมนักทำลายใต้น้ำรุ่นที่ ๒ ซึ่งเป็นการฝึกตามหลักสูตรนักเรียนนักทำลายใต้น้ำที่ได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่ พลเรือเอกหลวงชำนาญอรรถยุทธิ์ รักษาราชการผู้บัญชาการกองเรือยุทธการในขณะนั้น ได้ให้โอวาทแก่นักทำลายใต้น้ำเมื่อ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๙ เป็นโอวาทที่มีคุณค่าแก่นักทำลายใต้น้ำทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตซึ่งควรยึดถือและนำ ไปปฏิบัติ ดังมีข้อความดังนี้
ท่านผู้มีเกียรติ ”ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ ยืนยันความชื่นชมโสมนัสของกองเรือยุทธการ และโดยเฉพาะของข้าพเจ้าที่ได้เห็นกิจการของ หน่วยทำลายใต้น้ำสำเร็จเป็นรูปถึงขั้นสามารถเปิดการฝึกและอบรมนักเรียนนักทำลายใต้น้ำวันนี้
หน่วยทำลายใต้น้ำเป็นหน่วยที่เกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ ๒แต่โบราณมามนุษย์รู้จัก ลงไปอยู่ใต้น้ำแต่เพียงตัวเปล่า หรือสวมเครื่องประดาน้ำ ต่อมาเมื่อการดำเนินการสงคราม เจริญขึ้นความจำเป็นที่จะต้องใช้ทหารลงไปทำงานใต้น้ำเป็นระยะเวลานานและสามารถ นำเครื่องมือลงไปด้วย ตลอดจนมีความสามารถเคลื่อนที่ได้โดยกว้างขวางมี มากขึ้นจึงได้ มีการคิดค้นเครื่องช่วยหายใจตลอดจนเครื่องมืออย่างอื่นจนผู้ที่ลงไปทำงานใต้น้ำสามารถทำ งานอัน ยากลำบาก เช่น การทำลายสิ่งกีดขวางบริเวณหัวหาด เป็นต้น ได้ผลดีเป็นที่พอใจ จึงได้เกิดหน่วยนี้ขึ้นในกองทัพต่าง ๆ แทบทุกประเทศ กองทัพเรือได้ เล็งเห็นคุณประโยชน์ ์และความจำเป็นของหน่วยนี้ จึงได้เริ่มดำเนินการจัดให้ นายทหารใน กองเรือได้ทำการ ศึกษวิทยาการแขนงนี้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๖ ในชั้นต้นได้จัดนายทหาร ส่วนหนึ่งรับการอบรม ก่อน การดำเนินการอบรมได้เป็นไปด้วยดีโดยลำดับจนนายทหาร ของเรามีความชำนาญ และรอบรู้พอที่ถ่ายทอดวิชาการให้แพร่หลายยิ่งขึ้นทางราชการจึงได้ตั้งโรงเรียนซึ่งท่าน ทั้งหลายกำลังจะเข้าฝึกอบรมในวันนี้ขึ้น การที่กิจการของโรงเรียนนี้จะเจริญยิ่งขึ้นไปได้นั้นย่อมต้องอาศัยท่านทั้งหลายที่ี่เป็นครู อาจารย์และที่เป็นนักเรียนได้ร่วมกันตั้งใจทำงานในหน้าที่ของตนอย่างจริงจังและหมั่นเพียรศึกษาหาความ รู้เพิ่มเติมให้ก้าวหน้าอยู่เสมอและเมื่อสำเร็จการศึกษา แล้ว ทำการฝึกหัดในทางราชการโดยไม่ทอดทิ้งจึงจะนับได้ว่าได้ผลดีแก่ทางราชการ อนึ่งในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของท่านขอให้สังเกตไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า กองเรือยุทธการมิได้มีความประสงค์ที่จะให้ท่านนำวิทยาการที่ท่านจะได้รับการอบรมนี้ ไปใช้ประโยชน์เพื่อองค์บุคคลหรือกลุ่มชนใดอันไม่สุจริตแต่หากต้องการให้ท่านนำไปใช้เพื่อ กิจการของกองเรือยุทธการ หรือส่วนราชการอื่นของกองทัพเรือโดยเฉพาะนอกจากนั้นยัง ไม่ต้องการให้ท่านนำวิทยาการเหล่านี้ไปเปิดเผยแก่ผู้ไม่เกี่ยวข้องขอให้ท่านทั้งหลาย ได้พึงสังวร ไว้ในโอกาสนี้ด้วย
ท่านทั้งหลายที่ได้สมัครเข้ารับราชการในหน่วยนี้จะเป็นผู้ที่สามารถรักษาเกียรติ ิและความไว้วางใจที่ทางราชการมอบหมายให้ท่านได้ จึงขอถือโอกาสขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ในที่สุดข้าพเจ้าขออวยพรให้บรรดาครูอาจารย์และนักเรียน ตลอดจนท่าน ผู้มีเกียรติที่มาร่วมพิธีเปิดโรงเรียนนี้ จงประสบความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปทั้งในทาง ราชการและส่วนตัว นึกใดประสงค์ใดในทางที่ชอบที่ควรขอให้สำเร็จบรรลุความปรารถนา ทุกประการและขอให้โรงเรียนของหมวดทำลายใต้น้ำจงอยู่ยืนยงสถาพรต่อไปชั่วกาลนานเทอญ
พลเรือเอกหลวงชำนาญอรรถยุทธิ์
รักษาราชการผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าการฝึกอบรมจะมีทั้งที่กระทำในประเทศ หรือต่างประเทศจนได้ผู้มีความ สามารถตามความประ สงค์จำนวน ๒๑ นายแล้วก็ตาม แต่ในขณะนั้นบุคคลเหล่านั้น ยังเป็นผู้ที่สำเร็จการฝึกในชั้นต้นเท่านั้น ยังไม่มีผู้ใดได้รับการฝึก ในชั้นสูง (ADVANCED COURSE) เลย ดังนั้นกองเรือยุทธการจึงเสนอขออนุมัติกองทัพเรือในการส่งผู้ที่ผ่านการฝึกใน ชั้นต้นจำนวน ๑๖ นาย ไปรับการฝึกชั้นสูงในต่างประเทศเช่นครั้งแรกโดยความช่วยเหลือของหน่วยซีซัพพลาย โดยมีเรือโท วิสนุ ปราบศากุนเป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งกองทัพเรือได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๗ คณะหน่วยฝึกซึ่งมีเฉพาะทหารเรือ ได้เดินทางโดยเครื่องบิน C – 47 ออกจากดอนเมืองในคืนวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๗ สถานที่ฝึกเป็นอีกด้านหนึ่งของเกาะ ไซปัน ระยะเวลาการฝึก ๙ สัปดาห์ ประกอบด้วยวิชาดำน้ำ ๑๕๖ ชั่วโมง,วิชาการข่าว ๑๗๒ ชั่วโมง , วิชาการอาวุธและ การรบแบบกองโจร ๑๓๖ ชั่วโมง จบการฝึกในวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๗ และเดินทางกลับถึงประเทศไทยในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๗ จากการฝึกในระดับชั้นสูงนี้ ทำให้ผู้สำเร็จการฝึกมีความสามารถในการปฏิบัติงานใต้น้ำ กับสามารถปฏิบัติการทางลับได้ด้วย ไม่ใช่เฉพาะงานสำรวจหาดและทำลายสิ่งกีดขวางหน้าหาด แบบ UDTแล้ว
จัดเตรียมกำลังสำหรับ ปฏิบัติการสงครามพิเศษทางเรือ
ปฏิบัติกิจที่ได้รับมอบหมาย การฝึกศึกษาเกี่ยวกับการสงครามพิเศษทางเรือ
ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่ที่สำคัญ
การต่อต้านการก่อการร้ายสากล
การปฏิบัติการจิตวิทยา ในพื้นที่ ทร.รับผิดชอบ
การสำรวจหาด, ทำลายสิ่งกีดขวางหน้าหาด,ตัดรอนเป้าหมายสำคัญทางทหาร บริเวณพื้นที่ยกพลขึ้นบก
ดำเนินการด้านการข่าวลับ
ก่อวินาศกรรม เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือ
ปฏิบัติการค้นหาและถอดทำลายวัตถุระเบิด
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล
ดำเนินการฝึกกำลังพลทดแทนของ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ
ดำเนินการฝึกกำลังพลอื่น ๆ ในขีดความสามารถ ตามที่ได้รับมอบหมาย
ปฏิบัติการสงครามนอกแบบ
การสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
- โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กองทัพเรือ
- สนับสนุนโครงการอุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ ๓๖
ถวายอารักขาและรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ
ปฏิบัติกิจพิเศษอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย